แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๓ ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗

ผู้แต่ง

  • จุฬาลักษณ์ สร้อยสวาท ครุศาสตรมหาบัณฑิต พุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ ครุศาสตรมหาบัณฑิต พุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ปฏิธรรม สำเนียง ครุศาสตรมหาบัณฑิต พุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัย, หลักสัปปุริสธรรม 7, เด็กและเยาวชน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ เปรียบความคิดเห็นและเสนอแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ?ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน มีระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และใช้วิธีสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ดังนี้

ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัย ของโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัย ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีเพศ อายุ ตำแหน่ง และประสบการณ์ต่างกัน มีระดับความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่างกัน 3. แนวทางการแนวดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัย ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ?ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 พบว่า 1) ด้านนโยบายส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน ผู้บริหารควรรู้บทบาท ของตนในการป้องกันอุบัติเหตุ เน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายร่วมกันวางแผนป้องกันอุบัติเหตุ 2) ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาควรตระหนักถึงสาเหตุการเกิดอุบัติภัย โดยวางกฎระเบียบในโรงเรียน 3) ด้านการจัดการเรียนการสอนสุขศึกษาในโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษามีการจัดตั้งศูนย์คุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน เพื่อป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ 4) ด้านการออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการ ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดทำโครงการส่งเสริมทักษะด้านการออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการ เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมการรักสุขภาพ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม.กรุงเทพมหานคร: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานเลขาธิการสภา การศึกษาแห่งชาติ.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ฉบับปี 2560. กรุงเทพมหานคร: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

จุรีพร คงเฉลิม. (2556). วิถีชีวิตการส่งเสริมสุขภาพระดับบัณฑิตศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ.

ณัฐชัย สนธิเณร. (2556). พฤติกรรมสร้างเสริม สุขภาพและป้องกันโรคกับสภาวะสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชจังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมสุขภาพ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ดำรงค์ศักดิ์ เกี้ยวเพ็ง. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.

เทวีพันธ์ เยาวไสย และสิวะกรณ์ กฤษณสุวรรณ. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารส่งเสริมสุขภาวะกายในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประสาน มีมาก. (2555). สภาพและปัญหาการบริหารโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ปานหทัย ประสานสุข. (2561). การดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนสิริมังคลานุสรณ์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 1(1).

มีนา โอราวัฒน์. (2558). การบริหารโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณวิมล เมฆวิมล. (2557). ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากร ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สัมฤทธิ์ สมนาม. (2561). การพัฒนารูปแบบพัฒนาสุขภาวะของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Botvin, Gilbert J, Schinke, Steven and Orlandi, Mario A. (2017). School-based health Promotion. Substance abuse and sexual behavior. Cornell University Medical College: USA.

Ciaran. Strategies for organizing physical education activitie. (2017). Shaping Public Health in a New Europe. New York: MC Hall.

Jessie-Lee D. (2015). โปรแกรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพประเทศแคนนาดา. Substance abuse and sexual behavior. Cannada University Medical College: USA.

St. Leger, L. and Nutbeam, D. (2019). ?Evidence of effective health promotion in schools. in Boddy, D. (ed.). The Evidence of Health Promotion Effectiveness. Shaping Public Health in a New Europe. European Union: Brussels.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30