อย่าเห็นแก่ยาวดีกว่าสั้น อย่าเห็นแก่สั้นดีกว่ายาว

พระมหาพิสิษฐ สุทฺธิสํวโร

(ป.ธ.๙)
ครูสอนปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม

ภูตปุพพัง เรื่องเคยมีมาแล้ว ณ เมืองพาราณสี พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช ทรงเป็นกษัตริย์มั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์สมบัติมากมีรี้พลพาหนะมาก มีพระราชอาณาจักรใหญ่ มีคลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์และคลังธัญญาหารบริบูรณ์ ส่วนพระเจ้าทีฆีติโกศลราช ทรงเป็นกษัตริย์ขัดสน มีพระราชทรัพย์สมบัติน้อย มีรี้พลพาหนะน้อย มีพระราชอาณาจักรเล็กมีคลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์ และคลังธัญญาหารไม่บริบูรณ์ ครั้งนั้นพระเจ้าพรหมทัตเสด็จกรีธายกพลไปตีเมืองโกศล

พระเจ้าทีฆีติทรงทราบเหตุดังนั้นแล้ว มีพระราชดาริว่า พระเจ้ากาสีมีรี้พลศัสตราวุธมาก ส่วนเรามีรี้พลศัสตราวุธน้อย เราไม่สามารถจะต่อยุทธกับพระเจ้ากาสีได้เลย ดังนี้แล้ว จึงพาพระมเหสีเสด็จหนีออกจากเมือง ฝ่ายพระเจ้ากาสีก็ได้ทรงยึดรี้พลพาหนะคลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์ธัญญาหาร และเสด็จครองราชเมืองโกศลแทน

ทีนั้น พระเจ้าทีฆีติพร้อมพระมเหสีทรงปลอมแปลงพระองค์มิให้ใครรู้จัก นุ่งห่มเยี่ยงปริพาชก เสด็จอาศัยอยู่ในบ้านช่างหม้อที่ตั้งอยู่ชายแดน

ต่อมาไม่นาน พระนางก็ทรงตั้งพระครรภ์ และทรงแพ้พระครรภ์คือ ยามรุ่งอรุณทรงปรารถนาจะทอดพระเนตรจตุรงคเสนาผู้ผูกสอดสวมเกราะยืนอยู่ในสนามรบ และจะทรงเสวยน้ำล้างพระแสงขรรค์ จึงทูลแด่พระสวามี
ท้าวเธอรับสั่งว่า แม่เทวี พวกเรากำลังตกยาก จะได้สิ่งเห็นปานนั้นมาแต่ไหน

พระนางทูลว่า หากหม่อม ฉันไม่ได้แล้วไซร้ คงต้องตายแน่

พระเจ้าโกศลได้ตรัสถึงอาการเห็นปานนั้นแก่พราหมณ์ ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นสหายของพระองค์

พราหมณ์ทูลว่า หม่อมฉันขอเฝ้า พระเทวีก่อน

ลำดับนั้น พระเทวีก็เสด็จไปหาพราหมณ์นั้น ทันทีที่เขาเห็นพระเทวีเท่านั้น ก็ลุกจากที่นั่ง ประนมมือไปทางพระเทวี เ ปล่งอุทาน 3 ครั้งว่า ท่านผู้เจริญ พระเจ้าโกศลประทับอยู่ในพระอุทรแน่แล้ว ฉะนั้นพระเทวีอย่าได้ เ สียพระทัย ยามรุ่งอรุณจักได้ทอดพระเนตรจตุรงคเสนา และเสวยน้ำล้างพระแสงขรรค์เป็นแน่

พราหมณ์นั้น ก็เข้าไปวังกราบทูลพระเจ้าพรหมทัตว่า ขอเดชะ รุ่งอรุณพรุ่งนี้ ขอให้จตุรงคเสนายืนอยู่ในสนามรบ และเจ้าพนักงานนำน้ำล้างพระแสงขรรค์มาด้วย พระเจ้า พรหมทัตก็ทรงสั่งเจ้าพนักงานให้ทาตามที่ พราหมณ์ทูล

พระเทวีก็ได้ทอดพระเนตรจตุรงคเสนาและเสวยน้ำล้างพระแสงขรรค์ตามปรารถนา

ต่อมา ประสูติพระราชโอรสนามว่า “ทีฆาวุ” ทีฆาวุราชกุมารก็เจริญวัยตามลำดับ
ครั้งนั้น พระเจ้าทีฆีติดาริ ว่า พระเจ้าพรหมทัตนี้ ก่อความพินาศให้แก่พวกเรา ช่วงชิงเอารี้พล พาหนะ ชนบท คลังศัสตราวุธยุทธภัณฑ์ และคลังธัญญาหารของพวกเราไป ถ้าท้าวเธอจักสืบทราบถึงพวกเรา คงสั่งให้ประหารชีวิตของพวกเราเป็นแน่ เราพึงให้พ่อทีฆาวุหลบอยู่นอกพระนคร แล้วได้ให้ ทีฆาวุหลบอยู่ นอกพระนคร

ครั้นทีฆาวุราชกุมารหลบอยู่นอกพระนครไม่นานเท่าไรนัก ก็ได้ศึกษาศิลปะสาเร็จทุกสาขา

สมัยนั้น ช่างกัลบกของพระเจ้าทีฆีติได้สวามิภักดิ์ ในพระเจ้าพรหมทัต กราบทูลเรื่องที่พระเจ้าทีฆีติกับพระมเหสีเสด็จอาศัยอยู่ที่บ้านช่างหม้อแก่พระเจ้าพรหมทัต
ท้าวเธอสั่งพวกเจ้าพนักงานให้ไปจับพระเจ้าทีฆีติกับพระมเหสี โดยสั่งให้มัดด้วยเชือก ให้มีพระพาหาไพล่หลัง กล้อนพระเศียร นำตระเวรไปตามถนนทุกมุมเมือง ด้วยวัชฌเภรีมีสำเนียงอันคมคาย ให้ออกทางประตูด้านทักษิณ บั่นตัวเป็น 4 ท่อน วางเรียงในหลุม 4 ทิศ

ครั้งนั้น ทีฆาวุกุมารมีดาริว่า เราไม่ได้ไปเยี่ยมพระชนกชนนีนานแล้ว จึงเข้าไปยังพระนคร ได้ทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์ดังนั้น พระเจ้าทีฆีติ ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารเสด็จมา จึงได้ตรัสพระราชาโอวาทว่า “พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย แต่ย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร”
ท้าวเธอ ได้ตรัสพระโอวาทถึง 3 ครั้ง
ครั้งนั้น ทีฆาวุเข้าไปพระนคร เลี้ยงสุราเจ้าหน้าที่ยาม จนกระทั่งพวกเขาเมาหลับไป ก็ได้ จัดทำจิตกาธาร ยกศพพระชนกชนนีวางด้านบน แล้วถวายพระเพลิงทาประทักษิ ณ 3 รอบ
ทีนั้น พระเจ้ากาสี ทอดพระเนตรเห็นเหตุนั้น มีดำริว่า เจ้าคนนั่นคงเป็นญาติ หรือสายโลหิตเป็นแน่
ครั้งนั้น ทีฆาวุกุมารนั้นเสด็จเข้าป่า ทรงกันแสงร่ำไห้ ทรงซับน้ำพระเนตร แล้วเสด็จกลับเข้าเมืองไปที่โรงช้าง ขอศึกษาศิลปะกับนายหัตถาจารย์

“เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว หมายความว่า เจ้าอย่าได้จองเวรให้ยืดเยื้อ เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น หมายความว่า เจ้าอย่าแตกร้าวจากมิตรเร็วนัก”

วันหนึ่งตอนเช้ามืด ทรงขับร้องและดีดพิณ ที่โรงช้าง พระเจ้ากาสีสดับเพลงนั้นแล้ว ชอบ ท้าวเธอโปรดให้พาเขามา แล้วตรัสว่า พ่อหนุ่มเจ้าจงอยู่รับใช้เราเถิด ท้าวเธอทรงตั้งไว้ในตำแหน่งผู้วางพระราชหฤทัย
วันหนึ่ง ท้าวเธอเสด็จไปล่าเนื้อกับทีฆาวุกุมาร ทีฆาวุนั้นขับราชรถไปโดยที่หมู่เสนา ตามไม่ทัน พระเจ้ากาสีทรงเหน็ดเหนื่อยจึงขอนอนพัก โดยพาดพระเศียรบรรทมบนตักทีฆาวุนั้น
ขณะนั้นพระกุมารคิดถึงความหลัง จึงชักพระแสงขรรค์ออก แต่ได้ทรงยั้งพระทัยไว้ เพราะทรงระลึกถึงพระโอวาทที่พระชนกสั่งไว้เมื่อใกล้สวรรคต เราไม่ควรละเมิดพระดำรัสนั้น ทรงคิดทบทวนถึง 3 ครั้ง แล้วทรงสอดพระแสงขรรค์เข้าฝักตามเดิม

ทีนั้น พระเจ้ากาสีทรงกลัวสะดุ้งพระทัยเสด็จลุกขึ้น พระกุมารทูลถามเหตุเช่นนั้น ท้าวเธอตรัสว่า ฉันฝันเห็นว่าโอรสพระเจ้าทีฆีติฟาดฟันฉันด้วยพระแสงขรรค์ ณ ที่นี้
ทันใดนั้น ทีฑาวุกุมารจับพระเศียรของพระเจ้ากาสี แล้วชักพระแสงขรรค์ออก กล่าวคำขู่ว่า ขอเดชะ หม่อมฉันคือทีฆาวุกุมาร พระองค์ทรงก่อความฉิบหาย ยึดเมืองของพวกหม่อมฉัน และยังปลงพระชนมชีพพระชนกชนนีของหม่อมฉัน
พระเจ้ากาสีซบพระเศียรลงแทบยุคลบาทของทีฆาวุราชกุมาร ได้ตรัสคำวิงวอนว่า พ่อทีฆาวุพ่อจงให้ชีวิตแกฉันด้วยเถิด
เจ้าชายทูลว่า หม่อมฉันหรือจะเอื้อมอาจทูลเกล้าถวายชีวิตแก่พระองค์ พระองค์ต่างหากควรพระราชทานชีวิตแก่หม่อมฉัน
ครั้งนั้น ทั้งสองพระองค์ต่างได้ ให้ ชีวิต แก่กันและกัน จับพระหัตถ์กัน ได้ทาการ สบถเพื่อไม่ทาร้ายกัน เจ้ากาสีเสด็จกลับวัง พร้ อมกับทีฆาวุมาร ครั้นถึงพระนครแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้ เรียกประชุมหมู่ อามาตย์ราชบริษัท ตัดถามความเห็นว่า ถ้าพวกท่านพบทีฆาวุกุมารราชโอรสของ พระเจ้าทีฆีติโกศลราษ จะทาอะไรแก่เขา

พวกอามาตย์กราบทูลว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะพึงตัดมือพึงตัดเท้า หูจมูกและศีรษะ พระเจ้าค่ะ
พระเจ้าพรหมทัตตรัสว่า ชายหนุ่มผู้นี้คือ ทีฆาวุราชกุมาร ใครๆ จะทำอะไรเขาไม่ได้ เพราะว่าเขาได้ให้ชีวิตแก่เราและเราก็ได้ให้ชีวิตแก่เขา ครั้นแล้วพระองค์ตรัสถาม ทีฆาวุว่า พ่อทีฆาวุ พระชนกของเธอ ได้ตรัสไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า “พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย แต่ย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร” ความข้อนั้นมีความหมายว่าอย่างไร?


ทีฆาวุกุมารกราบทูลว่า ขอเดชะ คำว่า “เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว” หมายความว่า เจ้าอย่าได้จองเวรให้ยืดเยื้อ
คำว่า “เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น” หมายความว่า เจ้าอย่าแตกร้าวจากมิตรเร็วนัก
คำว่า “เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับด้วยเวรเลย แต่ยอมรับเพราะไม่จองเวร” หมายความว่า พระชนกชนนีของข้าพระพุทธเจ้า ถูกพระองค์ปลงพระชนมชีพเสีย ถ้าข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปลงพระชนมชีพของพระองค์เสียบ้าง คนเหล่าใดหวังความเจริญแก่พระองค์ คนเหล่านั้นจะพึงปลงชีวิตข้าพระพุทธเจ้า คนเหล่าใดหวังความเจริญแก่ข้าพระพุทธเจ้า คนเหล่านั้นจะพึงปลงชีวิตคนเหล่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เวรนั้นไม่พึงระงับเพราะเวร มาบัดนี้ พระองค์ทรงพระราชทานชีวิตแก่ข้าพระพุทธเจ้า และข้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถวายพระชนมชีพแก่พระองค์ เป็นอันว่าเวรนั้นระงับแล้วเพราะการไม่จองเวร พระชนกของข้าพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสพระบรมราโชวาทอันนี้ไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า “พ่อทีฆาวุ เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับได้เพราะไม่จองเวร พระพุทธเจ้าข้า”

ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสิกราช ตรัสว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีเลย ทีฆาวุราชกุมารนี้เป็นบัณฑิต จึงเข้าใจความแห่งภาษิต ที่พระชนกตรัสแล้ว โดยย่อได้โดยพิสดาร แล้วทรงพระราชทานคืนรี้พล ราชพาหนะ ชนบท คลังศัสตราวุธ ยุทธภัณฑ์และคลังธัญญาหารอันเป็นพระราชสมบัติของพระชนกของทีฆาวุราชกุมาร และได้พระราชทานพระราชธิดาอภิเษกสมรสด้วย ฯ เอวัง ก็มีอย่างนี้แล


ข้อมูลอ้างอิง พระไตรปิฎก เล่มที่ 5 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 5 มหาวรรค ภาค 2