การรับรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนพังงา
คำสำคัญ:
การรับรู้, คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการรับรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมายของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนพังงา ประชากร คือ นักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนและการปกครองท้องถิ่น ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 44 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบสำรวจการรับรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย(Mean) ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้ง 17 เป้าหมาย หากมองรายเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยระหว่าง(0.00-4.89) โดยค่าเฉลี่ยสูงสุดของการรับรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ No Poverty (4.89) รองลงมา คือ Zero Hunger (4.55) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด (0.00) คือ Affordable and Clean Energy, Decent Work and Economic Growth, Industry, Innovation and Infrastructure, Reduced Inequalities และ Place, Justice and Strong Institutions
จากผลการสำรวจการรับรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมายของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนพังงาโดยรวมอยู่ในระดับน้อย Perception มีค่าเฉลี่ย =1.62 นักศึกษาระดับอนุปริญญาของวิทยาลัยชุมชนพังงายังมีการรับรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่น้อย ยกเว้นบางเป้าหมายที่คะแนนค่าเฉลี่ยในการรับรู้คำศัพท์อยู่ในระดับมากที่สุดและมาก ประกอบด้วย เป้าหมายที่ 01 เป้าหมายที่ 02 เป้าหมายที่ 14 และ เป้าหมายที่ 15
References
บุญชม ศรีสะอาด. 2560. การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยาสาส์น. กรุงเทพฯ.
ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2022). ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ SDGs. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Gagne, R. M., & Dick, W. (1983). Instructional psychology. Annual review of psychology. 34(1), 261-295. https://doi.org/10.1146/annurev.ps.34.020183.001401.
Kanapathy, S., Lee, K. E., Sivapalan, S., Mokhtar, M., Syed Zakaria, S. Z., & Mohd Zahidi, A. (2019). Sustainable development concept in the chemistry curriculum: An exploration of foundation students? perspective. International Journal of Sustainability in Higher Education. 15(2), 188-207. https://doi.org/10.1108/IJSHE-04-2018-0069.
The United Nation. (2015). Transforming the World: The 2030 Agenda for Sustainable Development. UN General Assembly: New York, NY, USA.
Zwickle, A., M. Koontz, T., M., Slagle, K., & T. Bruskotter, J. (2014). Assessing sustainability knowledge of a student population: Developing a tool to measure knowledge in the environmental, economic and social domains. International Journal of Sustainability in Higher Education, 15(4). 375-389. https://doi.org/10.1108/IJSHE-01-2013-0008.