การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของชุมชน

ผู้แต่ง

  • อรุณวรรณ มุขแก้ว วิทยาลัยชุมชนพังงา
  • จีรณัทย์ วิมุตติสุข วิทยาลัยชุมชนพังงา
  • ณัฐสินี ชอบตรง วิทยาลัยชุมชนพังงา

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, ผู้นำการเปลี่ยนแปลงของชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของชุมชน 2) ทดลองและประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของชุมชน 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อหลักสูตร

การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของชุมชน 2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้นำการเปลี่ยนแปลงของชุมชนก่อนและหลังการอบรม ?3) แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของชุมชน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เข้าฝึกอบรม จำนวน 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของชุมชน มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.12/80.64 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม พบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้นำการเปลี่ยนแปลงของชุมชน เฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ?3) ผลเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของชุมชนก่อนและหลังการอบรมพบว่า กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม 4) ความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรอยู่ในระดับมาก

References

กลุ?มงานบริหารยุทธศาสตร?กลุ?มจังหวัดภาคใต?ฝ??งอันดามัน. (2564). แผนพัฒนากลุ?มจังหวัดภาคใต?ฝ??งอันดามัน พ.ศ. 2566-2570. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2566, จาก http://www.osmsouth-w.moi.go.th/

main/page/28

กลุ?มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดพังงา พ.ศ. 2566-2570. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2566, จาก http://www.phangnga.go.th/index.php/th/blog/1977-2566-2570

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7?20.

ณัฏฐโชติ จันทร์เพ็ชร. (2562). การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2565, จาก http://www.journalgrad.ssru.ac.th/index.php/miniconference/article/view/2055

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรนับพัน วงศ์ตระกูล, สมาน ฟูแสง, มนัส สุวรรณ และณัฐิยา ตันตรานนท์. หลักสูตรการฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะผู้นำชุมชนของจังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 16(2), 175-184.

พุทธินันทน์ บุญเรือง. (2562). รูปแบบภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเศรษฐกิจสีเขียวในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(1), 109-118.

ลภัสรดา จิตวารินทร์ และธวัชชัย จิตวารินทร์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับเสริมสร้างความรู้ ทักษะการปฏิบัติงาน และทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานแคดดี้. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(1), 102-114.

วรรณพร รุจิพงษ์กุล. (2566). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารสำหรับผู้นำยุคใหม่. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 3(2), 70-80.

สุเมธ งามกนก, ปริญญา นาคปฐม และ กฤษฏิพัทธ์ พิชญะเดชอนันต์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำการท่องเที่ยวในระดับพื้นที่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(2), 13-26.

อภิชัย คุณีพงษ์. (2556). การพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 10-11.

อาทิตยา โปณะทอง, ชัยณรงค์ สุวรรณสาร และ กาญจนา ภัทราวิวัฒน์. (2562). การพัฒนาหลักสูตอบรมเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทัศน์ มจร, 7(2), 332-347.

Best, J.W. (1997). Research in education. (8th ed.). New Jersey: Prentice ? Hell, lnc.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Educational and psychological measurement. New York: Minnesota University.

Steven, A. B., Susan, J. B., and Diana K. I. (2013). Communication: Principles for a lifetime. (5th ed.). Boston: Allyn & Bacon.

Taba, H. (1962). Curriculum development theory and practice. New York: Harcourt Brace and World.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30