การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สัญญา วรรณศรี คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • โกศล สอดส่อง คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การพัฒนาท้องถิ่น, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่อยู่อาศัยและที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น คำนวณตามสูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน่? 377 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.807

????????? ผลการวิจัยพบว่า

????????? การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี? โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจ ในการจัดทำโครงการกิจกรรม รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ในการบริหารงาน

????????? ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น ที่มีเพศต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05? ส่วนประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกันมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่นไม่แตกต่างกัน

????????? ข้อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ

References

ณัฐณิชา กงพะลี. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบลแก่งเลิงจาน อําเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. ในวิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชัย เกิดปัญญาวัฒน์. (2535). การศึกษาความเหมาะสม ในการมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานนักพัฒนา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111/ตอนที่ 53 ก/2 ธันวาคม 2537. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537.

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114/ตอนที่ 55 ก/11 ตุลาคม 2540. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.

สมบูรณ์ ธรรมลงกา. (2556). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นเป็นฐานใน จังหวัดเชียงราย. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต : สาขาการศึกษาและการพัฒนาสังคม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. (2561). ข้อมูลจำนวนประชากรและเขตการปกครอง. อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Kaplan, R. S. and Norton, D. P. (1996). The Balanced Scorecard: translating strategy in action. Boston: Harvard Business School Publishing Corporation.

Taro Yama ne. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.New York.Harper and RowPublications.

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30