การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • พระครูโกศลอรรถกิจ (ชัยศักด์ แซ่ลี้) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
  • พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
  • พระครูวิจิตรศีลาจาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
  • สิทธิโชค ปาณะศรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยว,, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธ, ความต้องการ

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธ 2) เพื่อสำรวจแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธจังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) เพื่อพัฒนาแผนที่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและการสำรวจ นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา พบว่า

  1. องค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธ

การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธ เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์กับการท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีพุทธ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญประกอบด้วย 1) พื้นที่สร้างสรรค์ 2) งานสร้างสรรค์ 3) ความสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ 4) กิจกรรมสร้างสรรค์ 5) ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ 6) เครือข่ายสร้างสรรค์

  1. การสำรวจแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธจังหวัดนครศรีธรรมราช แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 1) วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) วัดเจดีย์ (ไอ้ไข่) อำเภอสิชล จังหวัดนครศร๊ธรรมราช 3) วัดธาตุน้อย อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  2. การพัฒนาแผนที่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า การเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์วิถีพุทธจังหวัดนครศรีธรรมราช นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวทั้งสามสถานที่ได้อย่างสะดวกสบาย โดยสามารถเลือกใช้รูปแบบการเดินทางที่เหมาะสมกับตนเอง อาจเป็นการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว หรือเดินทางด้วยรถประจำทาง (รถทัวร์) เดินทางโดยรถไฟ หรือโดยเครื่องบิน นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการได้อย่างสะดวกสบายตามความต้องการ

References

พระอธิการธีรศักดิ์ จกฺกวโร (เวียงสมุทร). (2562). ?แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของวัดกู่พระโกนา ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด?, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการธีรศักดิ์ จกฺกวโร (เวียงสมุทร). (2563). ?การพัฒนาการบริหารจัดการท่องเที่ยววิถีพุทธของวัดในจังหวัดสมุทรปราการ?. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการเวียง กิตฺติวณฺโณ และพระปลัดวัชระ วชิรญาโณ. (2564). ?การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอมในจังหวัดสุรินทร์?. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2566). ประกาศคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ เรื่อง แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570), (24 มีนาคม 2566), เล่ม 140 ตอนพิเศษ 70 ง.

ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์ และคณะ. (2563). ?การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงศิลปะของกลุ่มจังหวัดล้านนา?. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ? และคณะ. (2555). ต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Creative Tourism Model. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรสุชา สุจินพรัหม. (2558). ?แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของไร่กาแฟ บริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล จำกัด?, ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมเกษตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29