คุณค่าพุทธศิลป์ ศึกษาเฉพาะกรณีเกี่ยวกับพระพุทธรูปยุคทวารวดี ในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ธนัชพร เกตุคง วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี

คำสำคัญ:

คุณค่า, พุทธศิลป์, พระพุทธรูป, ยุคทวารวดี

บทคัดย่อ

พุทธศิลป์ในพระพุทธศาสนา ปรากฏเป็นลักษณะของพระพุทธรูปในสมัยทวารวดี เป็นสิ่งที่สะท้อนความงดงามของศิลปะ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญในการศึกษาโบราณคดีสมัยทวารวดี นักวิชาการต่างสันนิษฐานกันว่าบริเวณเมืองอู่ทองมีมนุษย์อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และพุทธศิลป์ยุคทวารวดี เข้ามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๓ แต่ตามหลักฐานมีนักวิชาการโบราณคดี ด้านประติมากรรม สถาปัตยกรรมและจารึก พบว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้ามาประมาณพุทธศตวรรษ ที่ ๘-๑๐ เนื่องจากพบพุทธศิลป์ประติมากรรมดินเผารูปลายเส้นรูปภิกษุสาวก ๓ รูป ครองจีวรทำท่าบิณฑบาต ซึ่งเป็นเป็นหลักฐานที่เก่าที่สุดกว่าที่อื่นๆ จึงเชื่อกันว่าผู้คนในบริเวณเมืองอู่ทองนี้คงจะรู้จักและเริ่มนับถือพระพุทธศาสนามาก่อนแล้ว ซึ่งในบทความวิชาการนี้ผู้เขียนจะนำเสนอเกี่ยวกับคุณค่าพุทธศิลป์ทวารวดี ที่ปรากฏในรูปแบบของเจดีย์และโบราณสถาน โบราณวัตถุต่างๆ ล้วนแล้วทำให้เกิดคุณค่าในด้านต่างๆ ซึ่งมีประเด็นหลักอยู่ 5 ด้านด้วยกันคือ คุณค่าทางด้านศาสนา เมื่อศาสนาเกิดขึ้นก็ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ศาสนา จึงมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมา เพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าเพื่อศาสนิกชนจะได้ทำพิธีหรือเคารพบูชาทำให้เกิดความสงบทางด้านจิตใจและช่วยส่งเสริมให้คนเป็นคนดีสร้างความดีละเว้นความชั่ว พัฒนาตนเองให้ดีขึ้น คุณค่าทางประวัติศาสตร์ นำมาพัฒนาต่อยอดเป็นการเท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้ชุมชนและคุณค่าทางสังคม ทำให้เกิดการสำนึกรักบ้านเกิด ภูมิใจในบ้านเกิดที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและน่าภาคภูมิใจ

References

กรมศิลปากร. (2533). โบราณคดีและประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณบุรี. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสารรังสรรค์.

ชัปนะ ปิ่นเงิน. (2552). จักกวาฬทีปนี: ต้นแบบทางความคิดพุทธลักษณ์ล้านนา. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อำเภออู่ทอง สุพรรณบุรี ? จังหวัดสุพรรณบุรี [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://www.suphan.biz/UtongMuseum.htm [7 พฤษภาคม 2563].

มโน พิสุทธิรัตนานนท์. (2547). สุนทรียวิจักษณ์ในจิตรกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

วัชรินทร์ บัวจันทร์. (2554). ศึกษาเรื่องแดนแห่งพลังศรัทธา. ศิลปะนิพนธ์ศิลปะบัณฑิต, นครปฐม : คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสถียร โพธินันทะ. (2539). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, (ฉบับมุขปาฐะ ภาค 1). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. โบราณคดีช่วงก่อนสมัยทวารวดี : ข้อมูลใหม่จากเมืองโบราณอู่ทอง, เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง ?พัฒนาการของเมืองอู่ทองจากหลักฐานทางโบราณคดี?. รายงานวิจัย โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะโบราณคดี : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์. (2537). ศรีทวารวดีถึงศรีรัตนโกสินทร?. กรุงเทพมหานคร: ด?านสุทธาการพิมพ?.

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29