รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วม ของชุมชนบ้านท่าจูด จังหวัดพังงา

ผู้แต่ง

  • ณัฐสินี ชอบตรง วิทยาลัยชุมชนพังงา
  • อรุณวรรณ มุขแก้ว วิทยาลัยชุมชนพังงา
  • ธนดล หนูน้อย วิทยาลัยชุมชนพังงา

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนาศักยภาพ, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนบ้านท่าจูด จังหวัดพังงา 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ชุมชนบ้านท่าจูด จังหวัดพังงา และ 3) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนแก่กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยว และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนบ้านท่าจูด จังหวัดพังงา

การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยว แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามก่อนการฝึกอบรมและแบบสอบถามหลังการฝึกอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุมชนบ้านท่าจูดมีทรัพยากรการท่องเที่ยว ประกอบไปด้วย เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม ซึ่งประกอบด้วย แม่น้ำตะกั่วป่า คุ้งควนถ้ำ สวนมังคุด วิหารเซียนซ่งเยี่ยงไท้ ?สำนักสงฆ์ควนถ้ำ ตำหนักพระโพธิสัตว์กวนอิม 109 2. ความต้องการในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนต้องการให้มีการพัฒนาจุดขายสินค้าของชุมชน เพื่อรวมสินค้าและกระจายนักท่องเที่ยวเข้าสู่พื้นที่ ต้องการให้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน และต้องการพัฒนารูปแบบของสินค้าท้องถิ่นร่วมกับการท่องเที่ยว ต้องการให้มีการส่งเสริมด้านการตลาดการท่องเที่ยว การนำเสนอผลิตภัณฑ์มังคุดให้มีอัตลักษณ์ และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานในการต้อนรับนักท่องเที่ยว 3. การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 40 - 49 ปี และ 60 ปีขึ้นไป สถานภาพโสด จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. มีอาชีพเกษตรกร มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท โดยระดับความรู้ความเข้าใจที่มีก่อนและหลังการฝึกอบรมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่มีระดับความรู้ความเข้าใจในการอบรมเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับมาก

การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยว แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามก่อนการฝึกอบรมและแบบสอบถามหลังการฝึกอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุมชนบ้านท่าจูดมีทรัพยากรการท่องเที่ยว ประกอบไปด้วย เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม ซึ่งประกอบด้วย แม่น้ำตะกั่วป่า คุ้งควนถ้ำ สวนมังคุด วิหารเซียนซ่งเยี่ยงไท้ ?สำนักสงฆ์ควนถ้ำ ตำหนักพระโพธิสัตว์กวนอิม 109 2. ความต้องการในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนต้องการให้มีการพัฒนาจุดขายสินค้าของชุมชน เพื่อรวมสินค้าและกระจายนักท่องเที่ยวเข้าสู่พื้นที่ ต้องการให้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน และต้องการพัฒนารูปแบบของสินค้าท้องถิ่นร่วมกับการท่องเที่ยว ต้องการให้มีการส่งเสริมด้านการตลาดการท่องเที่ยว การนำเสนอผลิตภัณฑ์มังคุดให้มีอัตลักษณ์ และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานในการต้อนรับนักท่องเที่ยว 3. การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 40 - 49 ปี และ 60 ปีขึ้นไป สถานภาพโสด จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. มีอาชีพเกษตรกร มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท โดยระดับความรู้ความเข้าใจที่มีก่อนและหลังการฝึกอบรมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่มีระดับความรู้ความเข้าใจในการอบรมเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับมาก

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://www.mots.go.th

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2548). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2545). การท่องเที่ยวและ การต้อนรับนักท่องเที่ยว. สถาบันฝึกอบรมการโรงแรม และการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : ไทย ยูเนี่ยน กราฟฟิกส์.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

ปาริฉัตร สิงห์ศักดิ์ตระกูล และ พัชรินทร์ เสริมการดี. (2553). การศึกษาศักยภาพและแนวทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนบ้านทุ่งมะปรัง อำเภอควนโดน และบ้านโตนปาหนัน อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล (รายงานการวิจัย). คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สงขลา.

ปิยวรรณ ไทยเกิด. (2560). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเมืองเวียงสระจังหวัด สุราษฎร์ธานี. (การค้นคว้าอิสระการจัดการมหาบัณฑิต) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ภูเก็ต. สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 ? 2570). สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://secretary.mots.go.th

สถาบันลูกโลกสีเขียว. (2566). ชุมชนบ้านท่าจูด. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566. จาก https://www.greenglobeinstitute.com

Shirley Eber. (1993). องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). สืบค้นจาก http://www.volunteerspirit.org/files/TSTA%202011_final.pdf

Zapata, M. J., Hall, C. M., Lindo, P. & Vanderschaeghe, M. (2011). Can communitybased tourism contribute to development and poverty alleviation? Lessons from Nicaragua. Current Issues in Tourism, 14(8), 725-749.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30