ระบบการพัฒนาการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์ด้านการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชน: กรณีศึกษาวัดตาลเจ็ดช่อ ตำบลตลาดกรวด อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง
คำสำคัญ:
องค์ความรู้, สังคมสงเคราะห์ด้านการศึกษา, การศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการพัฒนาการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์ด้านการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชน: กรณีศึกษาวัดตาลเจ็ดช่อ ตำบลตลาดกรวด อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง? 2) เพื่อประเมินสภาพปัญหาและความตองการระบบการพัฒนาการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์ด้านการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชน: 3) เพื่อพัฒนาระบบการดำเนินงานสังคมสงเคราะห์ด้านการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชน: 4) เพื่อประเมินและรับรองระบบการพัฒนาสังคมสงเคราะห์ด้านการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชน :
การวิจัยนี้ใช้แบบพัฒนา กล่าวคือ การสำรวจ และการสัมภาษณ์ เครื่องที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง และแบบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ เด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาสด้านการศึกษา จำนวน 108 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีหากลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางของ Krejci, R. V. & Morgan, D. W.
ผลการวิจัย ?
1) ค้นพบการศึกษาองค์ความรู้ตามปัจจัยส่วนบุคคล อายุ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีอายุ 11-15 ปี จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 68.52 รองลงมามีอายุ 16-20 ปี จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 31.48 เพศ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เพศหญิง จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 68.52 รองลงมา เพศชาย จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 31.48 สถานภาพทางครอบครัว พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีบิดามารดาอยู่ครบ จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 49.07, ส่วนน้อยที่สุดคือ อยู่เฉพาะมารดา จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 9.06 ระดับชั้นที่กำลังศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 62.96 รองลงมา มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 37.04
2) ค้นพบการประเมินสภาพปัญหาและความต้องการ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.21, S.D. = 0.189)? และด้านที่มีความคิดเห็นน้อยที่สุดคือ ด้านการสร้างบรรยากาศในกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ (= 4.16, S.D. = 0.426) ?
3) ค้นพบการพัฒนาระบบการดำเนินงาน (1) การเตรียมการสังคมสงเคราะห์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.20, S.D. = 0.427) (2) การดำเนินการของกิจกรรมสังคมสงเคราะห์โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.26, S.D. = 0.366) (3) การใช้สื่อ/อุปกรณ์เพื่อสังคมสงเคราะห์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.21, S.D. = 0.365) ?(4) การสร้างบรรยากาศในกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.16, S.D. = 0.426) และ (5) การวัดผลและการประเมินผลกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.22, S.D. = 0.392)
4) ค้นพบการประเมินและรับรองระบบการพัฒนาสังคมสงเคราะห์ รับรองโดยคณะกรรมผู้ทรงคุณวุฒิการสอบ Focus Group Discussion จำนวน 12 รูป/คน เมื่อวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 ณ วัดตาลเจ็ดช่อ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง
References
ทินพันธ์ นาคะตะ. (2546). วิถีชีวิตไทย: วัฒนธรรมทางการเมืองของคนรุ่นใหม่. กรุงเทพมหานคร: โครงการเอกสารและตำราสมาคมรัฐศาสตร์นิด้า.
นันทนีย์ ไชยสุต. (2529). นักสังคมสงเคราะห์กับงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปกรณ์ อังศุสิงห์. (2551). คู่มือเตรียมสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระตาล ญาณธโร (สิงห์ทอง). (2563). ทัศนคติและความคาดหวังของเยาวชนชาวเขาต่อบทบาทของพระสงฆ์. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาไพฑูรย์ หาญสามัคคี. (2560). ความคิดเห็นของพระสงฆ์และครูพี่เลี้ยงในการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์อบรมเด็กก่อินเกณฑ์ในจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ดุษฎีบัณฑิต (สังคมสงเคราะห์ศาสตร์) กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระมหาอรรถชัย สกลสุภาภรณ์. (2562). บทบาทพระสงฆ์ที่สงเคราะห์เด็กนักเรียนที่พักอาศัยอยู่ในวัดเขตจังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ดุษฎีบัณฑิต (สังคมสงเคราะห์ศาสตร์) กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2557). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เรณู ลุศนันท์. (2561). ทฤษฎีและการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2505). การประชุมพิจารณาการสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: มปท.