ระบบเสริมสร้างพลังจิตการดำเนินชีวิตในสังคมพุทธสำหรับนักเรียนประถมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดสามัคคิยาราม จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • เปมิกา สุขเจริญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระวิเทศพรหมคุณ= คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ระบบเสริมสร้างพลังจิต, การดำเนินชีวิต, สังคมพุทธ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยคือ (1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบเสริมสร้างพลังจิตการดำเนินชีวิตในสังคมพุทธสำหรับนักเรียนประถมศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดสามัคคิยาราม จังหวัดปทุมธานี (2) เพื่อประเมินสภาพปัญหาและความต้องการระบบเสริมสร้างพลังจิตการดำเนินชีวิตในสังคมพุทธสำหรับนักเรียนประถมศึกษา (3) เพื่อพัฒนาระบบเสริมสร้างพลังจิตการดำเนินชีวิตในสังคมพุทธสำหรับนักเรียนประถมศึกษา (4) เพื่อประเมินและรับรองระบบเสริมสร้างพลังจิตการดำเนินชีวิตในสังคมพุทธสำหรับนักเรียนประถมศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดสามัคคิยาราม จังหวัดปทุมธานี

การวิจัยแบบพัฒนา คือ การสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างครูพระสอนวิชาพระพุทธศาสนาและบุคลากรเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 120 คน และการสัมภาษณ์ผู้บริหารและคณะครู จำนวน 8 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์

ผลการวิจัย

1. การศึกษาองค์ความรู้ตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มี 74 คน คิดเป็นร้อยละ 61.67. เพศชาย จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 38.33 อายุ ส่วนใหญ่อยู่ในระหว่าง 13-14 ปี จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 35.00

2. การประเมินสภาพปัญหาและความต้องการของระบบการเสริมสร้างพลังจิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.85, S.D. = 0.200) ด้านเนื้อหา อยู่ในระดับมาก ( = 3.65, S.D. = 0.445) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก ( = 3.95, S.D. = 0.372) ด้านชุดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ( = 3.82, S.D. = 0.407) ด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมาก ( = 4.03, S.D. = 0.408) ด้านชุดคุณประโยชน์จากการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ( = 3.82, S.D. = 0.465)

3. การพัฒนาระบบการเสริมสร้างพลังจิตจากการสัมภาษณ์ สรุปได้ว่า ด้านประโยชน์ในการเสริมสร้างพลังจิต เป็นประโยชน์ปลูกฝังขัดเกลาพฤติกรรมเด็ก ๆ ให้มีสติสัมปชัญญะที่ดีงาม, ด้านสภาพปัญหา ต้องฝึกฝนอย่างมีสติตามหลักพุทธธรรม, ด้านประสบการณ์ โดยมากมาจากผู้ปกครองและสภาพแวดล้อม, ด้านแนวทาง คือให้ศึกษาจุดอ่อน จุดแข็งและสร้างภูมิต้านทาน,ด้านข้อเสนอแนะ พบว่า เน้นให้เชื่อเรื่องเวรกรรม ครอบครัวต้องเป็นเสาหลักเสมอไป

4. การประเมินและรับรองระบบการเสริมสร้างพลังจิตการดำเนินชีวิตในสังคมพุทธสำหรับนักเรียนประถมศึกษา โดยคณะกรรมผู้ทรงคุณวุฒิมี ศ.ดร. ชัยยงค์ พรหมซงศ์ เป็นประธานสอบ Focus Group Discussion จำนวน 8 รูป/คน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน 2566 ณ ห้อง C 113 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2551). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : นนทบุบุรี.

บรรยวัสถ์ ฝางคำ และคณะ. (2561). ชุมชนไตรสิกขา: รูปแบบและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดอุบลราชธานี?, รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี, 2561.

บ้านธัมมะ. (2565). พลังจิต. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.dhammahome.com/

webboard/topic/20350, [2 กันยายน 2565].

พระมหาวิโรจน์ วิโรจโน (ผาทา). (2545). การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดเรื่องภวังคจิตในพุทธปรัชญากัลป์อาลยาวิญญาณในพุทธปรัชญาโยคาจาร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาศุภวัฒน์ ชุติมนฺโต. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดเรื่องพฤติกรรมของมนุษย์ในพุทธปรัชญากับซิกมันด์ ฟรอยด์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิชญรัชต์ บุญช่วย. (2549). การศึกษากระบวนการสร้างภาวนา 4 โดยใช้หลักไตรสิกขา (วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2557). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสตร์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย, กรุงเทพมหานคร:

พิมพ์ดีการพิมพ์.

วิศิษฐ์ ศรีพิบูลย์, มนตราลั่นสะเทือน. (2561). Law of Vibration, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์หนังสือจุฬา.

สมถวิล ธนวิทยาพล. (2528). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ความคิดเรื่องจิตในพระสุตันตปิฎก (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach อ้างใน ประยูร อาษานาม. (2551). คู่มือวิจัยทางการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 3, มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

Cronbach, Lee J. (2001). Essentials of psychological testing, 4 th ed., New York: Harper & Row.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30