แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๑

ผู้แต่ง

  • สุจิน ยอดมหาวรรณ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พีรวัฒน์ ชัยสุข ครุศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการเรียนรู้, ามหลักไตรสิกขาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่, โรงเรียนขยายโอกาส

บทคัดย่อ

????????? การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ในยุค ฐานวิถีชีวิตใหม่ ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ????????????2. เพื่อศึกษาวิธีการการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 3. เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลัก ไตรสิกขา ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ประชากรจำนวน 226 คน และแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ???????????????ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดเรียงอันดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เนื้อหา

????????? ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพความต้องการจำเป็นที่มีความสำคัญมากที่สุดเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ (PNI modified=0.074) ด้านสื่อ/แหล่งการเรียนรู้ (PNI modified =0.060) ด้านเนื้อหาวิชา (PNI modified=0.056) ด้านครูผู้สอน (PNI modified=0.045) ด้านผู้เรียน (PNI modified=0.039) 2. ผลการศึกษาวิธีการการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 พบว่าด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ควรนำหลักไตรสิกขาในด้านศีลมาเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ รองมาด้านสื่อ/แหล่งการเรียนรู้ควรนำหลักไตรสิกขาในด้านสมาธิมาเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ และด้านเนื้อหาวิชาควรนำหลักไตรสิกขาในด้านปัญญามาเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 3. แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ควรจัดตามองค์ความรู้

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

ผกามาศย์ รักษ์นาค. (2547). การใช้ไตรสิกขาในการพัฒนาศีลธรรมของเยาวชนไทย : ศึกษากรณีโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย รามคำแหง.

พระมหาอานนท์ อานนฺโท (ศรีชาติ). (2560). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนทวีวัฒนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสมุห์พิษณุ เสนามนตรี และพีระศักดิ์ วรฉัตร. (2562). แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2562): 1-3.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2564). JOURNAL OF TEACHER PROFESSIONAL DEVELOPMENT. คุรุสภาวิทยาจารย์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม?เมษายน 2564): 2-4.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2524). การวางแผนทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดุษฎี สีตลวรางค์. การเปรียบเทียบวิธีการสอนแบบไตรสิกขาและธรรมสากัจฉาในการสอนเบญจศีลและฆราวาสธรรมในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒประสานมิตร.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29