การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระมหาสามารถ ฐานิสฺสโร (อาจคงหาญ) นิสิตหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ระบบการจัดการเรียนรู้, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, การออกแบบระบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ?การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร? เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระบบการจัดการเรียนในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร (3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และโปรแกรมประยุกต์เพื่อการจัดการเรียนรู้ Moodle: BSMARTS ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร และทดลองระบบกับนักเรียนกลุ่มทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

????????? ผลการวิจัย พบว่า 1. ระบบการจัดการเรียนรู้ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท สังเคราะห์ได้ 6 ระบบ 3หมวด ได้แก่ (1) ระบบการสร้างความสมดุลชีวิต (2) ระบบการเรียนรู้มุ่งพัฒนาทักษะทางกาย วาจา และใจ (3) ระบบการเรียนรู้ที่ง่าย สะดวก สบาย และสงบ เหมาะกับคนทุกยุค (4) ระบบการเรียนรู้ที่สามารถประยุกต์ใช้นำไปปฏิบัติได้ (5) ระบบการเรียนรู้เชิงเหตุผลบนความถูกต้อง และ (6) ระบบการเรียนรู้เพื่อความรู้แจ้งความเป็นจริงและนำไปขยายผลได้ และสามารถสังเคราะห์ระบบข้อที่ 1 กับ 2 เป็นหมวดศีล สังเคราะห์ระบบข้อที่ 3 กับ 4 เป็นหมวดสมาธิ และสังเคราะห์ระบบข้อที่ 5 กับ 6 เป็นหมวดปัญญา 2. การออกแบบระบบการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร มี 5 ขั้นตอน เกิดจากการสังเคราะห์ความต้องการระบบของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียน โดยใช้โปรแกรมประยุกต์ Moodle เป็นเครื่องมือในการนำเข้าข้อมูลที่เป็นหน่วยการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และสามารถแสดงผลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ผ่านระบบเบราเซอร์ และแอพพลิเคชั่นผ่านมือถือ เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา 3. ประสิทธิภาพของระบบจัดการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร ได้จากการประเมิน พบว่า (1) ความเหมาะสมของหน่วยการเรียนรู้วิชาวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก (2) ความสอดคล้องของระบบการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมาก (3) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีประสิทธิภาพโดยรวม อยู่ในระดับมาก 4. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผลการทดสอบหลังเรียนได้คะแนนร้อยละ 80 จำนวน 18 คน ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อนำคะแนนรวมของผลลัพธ์การสอบหลังเรียนของนักเรียน มาคำนวณตามสูตรของศ. ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ผลปรากฏว่า มีคะแนนเกินเกณฑ์ที่กำหนด ดังนั้น จึงยอมรับสมมติฐานทั้ง 2 ข้อ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539.). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พุทธทาส ภิกขุ. (2563). คู่มือมนุษย์ (ฉบับสาระสำคัญ)114 ปี ชาตกาล อาจาริยบูชา 2563. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาพและสถาบันบันลือธรรม.

แสง จันทร์งาม. (2540.). วิธีสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

กนกรัตน์ ตั้งสุขเกษมสันต์. (2552). ?การผลิตหนังสือนิทานพื้นบ้านเพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม สำหรับเด็กด้อยโอกาสจังหวัดขอนแก่น?. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จรัล กาอินทร์. (2540). ?ปัญหาการเรีนยการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง?. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชวนิดา สุวานิช. (2553). ?การพัฒนารูปแบบระบบบริหารการจัดการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ (mLMS) ผ่านเครื่องช่วยงานดิจิทัลส่วนบุคคล (PDA)?. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปรีชา กันธิยะ. (2551). ?การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่พระมีส่วนร่วมในการสอนศีลธรรม?. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสยาม.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29