นิตินิยม : ปรัชญาสังคมและการเมืองของฮั่นเฟ่ยจื้อ
คำสำคัญ:
นิตินิยม, ปรัชญาสังคมและการเมือง, ฮั่นเฟ่ยจื้อบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรัชญาสังคมและการเมืองของฮั่นเฟ่ยจื้อ จากการศึกษาพบว่า การอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์จะต้องจัดระเบียบการปกครองโดยอาศัยกฎหมายเป็นมูลฐาน เพราะธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์มีแต่ความชั่วร้าย จึงจำเป็นต้องใช้กฎหมายหรืออำนาจเป็นเครื่องมือควบคุม จะอาศัยเพียงศีลธรรมหรือจารีตประเพณีมาควบคุมเท่านั้นไม่ได้ นักปรัชญาจีนสำนักนิตินิยม คือ ฮั่นเฟ่ยจื้อ เห็นว่า กฎหมายเป็นเรื่องสำคัญที่สุด กฎหมายเท่านั้นที่จะทำให้ประเทศเข้มแข็ง และนำความสงบสุขมาสู่บ้านเมืองได้ และเขาเสนอว่าเรื่องที่ควรนำมาใช้กับสังคมในยุคของเขาก็คือ 1) ซี่ หรืออำนาจเท่านั้นที่จะจัดการกับสิ่งต่างๆ ได้ อำนาจทำให้คนเกรงกลัวและไม่มีใครกล้าฝ่าฝืน 2) ซู่ หรือศิลปะการปกครอง ผู้ปกครองจะขาดซู่ไม่ได้ เพราะศิลปะเป็นวิธีที่ผู้ปกครองจะต้องนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการปกครอง เพื่อทำให้บุคคลในบังคับบัญชาเชื่อฟังและปฏิบัติดามด้วยความยินดี 3) ฝ่า หรือกฎหมายเป็นตัวกำหนดคุณและโทษเอาไว้อย่างชัดเจน กฎหมายจะเป็นบรรทัดฐานของการปกครองประเทศ ความสำคัญของปรัชญาสังคมและการเมืองของฮั่นเฟ่ยจื้อ คือ เขาต้องการให้พลเมืองมีความสุข สังคมเป็นระเบียบ ประเทศชาติมั่นคงและมั่งคั่ง การที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ รัฐจะต้องดำเนินการต่อไปนี้ 1) แต่งตั้งให้ผู้นำของรัฐมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครอง มีหน้าที่ออกกฎหมาย 2) ผู้นำทุกตำแหน่งต้องมีอำนาจและหน้าที่อยู่ในตัว 3) ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครองประเทศ 4) รณรงค์ให้พลเมืองเป็นเกษตรกรรมและทหาร เพราะเกษตรกรรมสามารถหารายได้เข้ารัฐ ทำให้ประเทศชาติมั่งคั่ง ส่วนทหารทำให้ประเทศชาติมั่นคงไม่ถูกรุกราน ทำให้บ้านเมืองมีเสถียรภาพสงบสุข บุคคลทั้ง 2 ประเภทจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นกำลังสำคัญของชาติ
References
ธวัช หอมทวนลม. (2545). เอกสารประกอบการสอนปรัชญาจีน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
น้อย พงษ์สนิท. (2528). ปรัชญาจีน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระมหาพงษศ์ทราทิตย์ ก้องเสียง. (2560). หลักการปกครองของฮั่นเฟ่ยจื้อ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฟื้น ดอกบัว. (2542). ปวงปรัชญาจีน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศยาม.
สกล นิลวรรณ. (2523). ปรัชญาจีน. แปลโดย จาก The Story of Chinese Philosophy. พระนคร: โอเดียนสโตร์.