การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดเรื่องชราในพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระเที่ยง ตปสีโล นักวิชาการอิสระ ด้านพุทธศาสนาและปรัชญา

คำสำคัญ:

แนวคิดเรื่องชรา, พุทธปรัชญาเถรวาท, อริยสัจ 4

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องชราในศาสตร์ต่าง ๆ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องชราในพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเรื่องชราในพุทธปรัชญาเถรวาท การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ตำราทางวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องชราในพุทธปรัชญาเถรวาท
ผลจากการวิจัย พบว่า 1. แนวคิดเรื่องชราในศาสตร์ต่าง ๆ พบว่า ชรา ได้แก่ ความแก่ ของผู้สูงอายุ โดยมีการนับอายุ 60 ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น ทาง ตา หู จมูก ลิ้น ร่างกาย และใจ เกิดการเสื่อมสภาพทรุดโทรมที่ส่งผลเสียกับชีวิตตนเอง ต่อครอบครัว และประเทศชาติ ที่ต้องสูญเสียบุคลากรสำคัญของหน่วยงาน เมื่อต้องเกษียณ หรือตายจากไป 2. แนวคิดเรื่องชราในพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า ชรา ได้แก่ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความชำรุด ความทรุดโทรม ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ และรูป โดยเกิดขึ้นจากอำนาจของอวิชชาก็คือ ความไม่รู้ว่าอุปาทานขันธ์ 5 ว่าเป็นทุกข์ ซึ่งประกอบด้วย รูปนาม ที่อาศัยอายตนะ คือ อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น และใจ (อารมณ์) เป็นแดนเกิด ทำให้มนุษย์เกิดในสังสารวัฏนี้ต้องพบกับ ความแก่ เจ็บ และตาย เช่นนี้ โดยเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ 3. วิเคราะห์แนวคิดเรื่องชราในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปว่า ชรามีสาเหตุมาจากความไม่รู้ในอริยสัจ 4 คือ ไม่รู้ทุกขอริสัจ ไม่รู้สมุทยอริสัจ ไม่รู้ทุกขนิโรธอริยสัจ ไม่รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา และไม่รู้ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นทั้งอดีตอนาคต จึงต้องวนเวียนในสังสารวัฏแห่งการเกิด แก่ เจ็บ และตาย ความเศร้าเสียใจ ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ จึงต้องปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ สรุปก็คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ที่เป็นแนวทางการปฏิบัติ เพื่อดับอวิชชา ตัณหา มานะและทิฏฐิ

References

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2543). พระไตรปิฎกและอรรถกถา ชุด 91. นครปฐม : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2554). พุทธประวัติ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 55. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระญาณสังวร (สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)). (2555). วิธีสร้างบุญบารมีชีวิตนี้สำคัญนัก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 38. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์ ในเครือ บริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม (ดร.) (2552 ). เอกสารประกอบการสอนวิชาพุทธจริยศาสตร์. พิมพ์ครั้ง-ที่ 1. นครปฐม. พิมพ์ที่มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี). (2558). มรณาวิชาสุดท้าย. พิมม์ที่ครั้งที่ 1. จังหวัดสมุทรปราการ. พิมพ์ที่บริษัทออฟเว็ทพลัส จำกัด.

พระครูสิงห์แก้ว วชิรธมฺโม (2554). บทบาทของผู้สูงอายุในการส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัด ลำพูน. ปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิตมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูบรรพตพัฒนาภรณ์ (ครุโก). (2556). การศึกษาเปรียบเทียบเรื่องวัยในศาสนาพุทธเถรวาทกับศาสนาพราหมณ์ ? ฮินดู. ปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิตมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ.

นงลักษณ์ สะวานนท์. (2554). การเข้าถึงธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ ฯ: พิมพ์ที่บริษัทขุมทอง -อุตสาหกรรมและการพิมพ์ จำกัด.

บรรลุ ศิริพานิช. (2542). ผู้สูงอายุไทย สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดี.

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ. (2547). หนังสือพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. พิมพ์ครั้งที่แรก : กรุงเทพฯ. พิมพ์ที่ เจ.เอส. การพิมพ์.

ฟื้น ดอกบัว. (2550). พุทธปรัชญาแห่งชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์ศสยาม.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่ม 2, วัยรุ่น - วัยสูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 8. (แก้ไขเพิ่มเติม) กรุงเทพ ฯ พิมพ์ที่ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2549). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรกุล เจนอบรม. (2534). วิทยาการผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.สุรีย์ มีผลกิจ. (2553). สังสารวัฏ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ ฯ. พิมพ์ที่บริษัท คอมฟอร์ม จำกัด.

กาญจนาณัฐ ชนะศักดิ์. (2552). ศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับความ-ชราในสังคมไทยปัจจุบัน. ปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิตมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภัทิรา ศิริมานนท์. (2551). การศึกษาความศรัทธาในพุทธศาสนาและสัมพันธภาพกับผู้ร่วมวัยของผู้สูงอายุ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ.

ภิรมย์ เจริญผล. (2553). ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ จังหวัดนครปฐม. ปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิตมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิทักษิณา สุภานุสร. (2546). กลไกทางวัฒนธรรมในการช่วยเหลือผู้สูงอายุของชุมชนคนบท. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

หมอชาวบ้าน. (2530). https://www.doctor.or.th/article/detail/4930.

กรองทอง กาญจนเลิศพรทวี. (2550). www.crs.mahidol.ac.th/news/minithesis/2550/008.doc.

อาจารย์ญาณภัทร ยอดแก้ว. (2555). https://www.gotoknow.org/user/dhammarit/ profile.

พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2555). http://haamor.com/.

ตุลระวี ไชยปัญโญ. (2555). https://tunlawee.wordpress.com/2012/05/19/วัยสูงอายุ-old-age/.

บ้านท่าลาด. (2556). http://baanthalad.blogspot.com/2013/06/blog-post.html.

cluster ผู้สูงอายุ (2560). http://aginghpc.blogspot.com/2017/02/blog-post.html.

กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และเครือข่ายผู้สูงอายุ. http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/index.htm.

เผยแพร่แล้ว

2023-02-18