วัดอาวุธวิกสิตาราม

วัดอาวุธวิกสิตาราม มีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวงเมื่อวันที่ 22 เมษายน พุทธศักราช 2539 โดยมีเลขที่ทะเบียนวัดที่ 137 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 72 แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 

อาณาเขต

วัดอาวุธวิกสิตาราม มีเนื้อที่ 28 ไร่ 3 งานเศษ ตามโฉนด 1592 เลขที่ 201 และ 5079 เลขที่ 186 มีลักษณะพื้นที่ราบเรียบสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีอาณาเขตอุปจาร ดังนี้

1. ทิศตะวันออก มีอาณาเขตจรดแม่น้ำเจ้าพระยา

2. ทิศตะวันตก มีอาณาเขตจรดถนนจรัญสนิทวงศ์

3. ทิศเหนือ มีอาณาเขตจรดคลองบางพลัด

4. ทิศใต้ มีอาณาเขตเป็นถนนซอยจรัญสนิทวงศ์ 72ติดกับลำกระโดงสาธารณะ

ประวัติการสร้างวัด

 

วัดอาวุธวิกสิตาราม เป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่ง สร้างมาแล้วประมาณ 200 กว่าปี เริ่มต้นจากมีพระและชาวบ้านจำนวนหนึ่งซึ่งอพยพมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งปลายกรุงศรีอยุธยา ราว พ.ศ. 2310 ได้มาตั้งถิ่นฐานที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา พระสงฆ์ที่อพยพมาในสมัยนั้น ได้พำนักและก่อสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น ณ ที่ดินเชิงเลนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมา พ.ศ. 2422 (ร.ศ. 98) จึงได้ตั้งเป็นวัดขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดปากคลองบางพลัด” เพราะตั้งอยู่ตรงปากคลองบางพลัด และเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดบางพลัดนอก”

ร.ศ. 114 ยุคแรกการบูรณะพัฒนาวัด

พ.ศ.2438 (ร.ศ.114) พระอาจารย์สี เจ้าอาวาสวัดปากคลองบางพลัดท่านเป็นพระนักวิปัสสนาเป็นผู้มีปฏิปทาเคร่งครัดในข้อธรรมแลวินัยยินดีในที่สงบวิเวก มีข้อวัตรเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของสาธุทั่วไป ด้วยความสงบร่มรื่นของสถานที่แหง่ นี้ จึงทำ ใหอ้ ารามชายน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งนี้เป็นศูนย์รวมของนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายดังนั้นท่านจึงเป็นที่เคำรพศรัทธาเลื่อมใสจากพระยาอาวุธภัณฑ์เผด็จ (ท้วม) เจ้ากรมคลังแสงในรัชกาลที่ 5 เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งท่านเอง ก็เป็นชาวบางพลัดมีบ้านอยู่ริมคลองบางพลัด ตรงข้ามกับวัดปากคลองบางพลัด ทางด้านทิศเหนือ ท่านทั้งสองมีความเห็นว่า วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณมีเสนาสนะกุฏิ ศาลาการเปรียญชำรุดทรุดโทรมสมควรที่จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้เหมาะสมแก่การเป็นที่พักสงฆ์ และที่ปฏิบัติศาสนกิจของสาธุชนพุทธบริษัทต่อไป

พระอาจารย์สีและพระยาอาวุธภัณฑ์เผด็จ(ท้วม) ได้ไปพบพระครูแจ่ม ทานโท วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร (พระธรรมฐิติญาณ เจ้าอาวาสลำดับที่ 7 วัดเครือวัลย์วรวิหาร ธนบุรี กรุงเทพฯ) เมื่อได้ปรึกษาหารือเรื่องการบูรณปฏิสังขรณ์และการแปลงวัดจึงได้มีความเห็นร่วมกันว่ามีมติให้แปลงวัดปากคลองบางพลัดเป็นวัดในสังกัดธรรมยุติกนิกาย พร้อมกันนี้คณะสงฆ์พร้อมด้วยคฤหัสถ์มีพระยาอาวุธภัณฑ์เผด็จ (ท้วม) เข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อทูลขอแปลงวัดปากคลองบางพลัด เป็นวัดในสังกัดคณะธรรมยุต สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทรงเห็นชอบด้วยและตรัสสั่งให้พระยาอาวุธภัณฑ์เผด็จ (ท้วม) เป็นผู้อุปถัมภ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดศาลาการเปรียญ และอุโบสถขึ้นใหม่ ให้มีเสนาสนะเพียงพอและเหมาะสมเพื่อเป็นที่พักจำพรรษาของพระภิกษุสามเณรเป็นที่บำเพ็ญกุศลของพุทธศาสนิกชนในละแวกนี้ได้

หลังจากนั้น พระยาอาวุธภัณฑ์เผด็จ(ท้วม) พร้อมด้วยคุณหญิงแย้มได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานวิสุงคามสีมา และขอพระราชทานนามวัดปากคลองบางพลัดใหม่ว่าวัดอาวุธวิกสิตาราม มีความหมายว่า วัดที่พระยาอาวุธ (พระยาอาวุธภัณฑ์เผด็จ) และคุณหญิงแย้ม เป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์ (คำว่า“แย้ม” ตรงกับภาษาบาลีว่า “วิกสิต” เป็น อาวุธวิกสิตาราม ภาษาไทยนิยมใช้คำว่า วัด นำหน้า จึงได้ชื่อเต็มว่า วัดอาวุธวิกสิตาราม แปลว่า อารามของพระยาอาวุธภัณฑ์เผด็จกับคุณหญิงแย้ม) คำบาลี 3 คำนี้สนธิเข้ากันระหว่าง อาวุธ+วิกสิต+อาราม ทรงพระราชอุทิศที่นั้นให้เป็นที่วิสุงคำมสีมา สำหรับพระสงฆ์มาแต่ทิศทั้งสี่ ทำสังฆกรรมมีอุโบสถเป็นต้น และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอารามแห่งนี้ว่า “วัดอาวุธวิกสิตาราม” พระราชทานเมื่อ วันที่ 19 เมษายน รัตนโกสินทร์ศก 118 พุทธศักราช 2441

วัดอาวุธวิกสิตาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคำมสีมาอีกครั้งหนึ่ง เป็นครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2511 ในยุคของพระสิทธิสารโสภณ (สงวน โฆสโก) อดีตเจ้าอาวาสอันดับที่ 4

ความหมายและความสำคัญของตราวัดอาวุธวิกสิตาราม

ตราวัดอาวุธวิกสิตาราม มีความหมายและความสำคัญ ดังนี้

1. พระมหามงกุฏ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดอาวุธวิกสิตาราม”

2. วงรัศมี หมายถึง พระเดชานุภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

3. กระบี่ และช่อชัยพฤกษ์ หมายถึง พระยาอาวุธภัณฑ์เผด็จ (ท้วม) ตำแหน่งเจ้ากรมคลังแสง ในรัชกาลที่ 5 ผู้นำในการบูรณปฏิสังขรณ์

4. กระบี่ประกอบด้วยคุณสมบัติ 2 ประการ คือ แหลม คม ในการศึกษา หมายถึง ปัญญา

5. ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึง สามัคคีธรรมของคณะสงฆ์วัดอาวุธวิกสิตาราม

6. ระฆัง หมายถึง กิตติศัพท์ กิตติคุณของวัดที่ขจรขจายไปทุกสารทิศดุจเสียงระฆังที่ก้องกังวาล

ทำเนียบเจ้าอาวาส/รักษาการเจ้าอาวาส วัดอาวุธวิกสิตาราม

ในช่วงระยะเวลา 134 ปีที่ผ่านมา (2422 – 2556) วัดอาวุธวิกสิตาราม มีเจ้าอาวาสปกครองวัดและรักษาการเจ้าอาวาส จำนวน 10 รูป ดังต่อไปนี้

1. พระอาจารย์สี

2. พระสมุห์เฉย

3. พระอาจารย์ปิ๋ว

4. พระปลัดเรือง

5. พระสิทธิสารโสภณ (สงวน โฆสโก) พ.ศ. 2483 – 2517 รวม 35 ปี

6. พระมหาสุเทพ ฐิตภาโส พ.ศ. 2517 (รก.) รวม 1 ปี

7. พระอริยคุณาภรณ์ (สุบิน เขมิโย) พ.ศ. 2518 รวม 1 ปี

8. พระเทพเมธากร (จันทร์ จนฺโท) พ.ศ. 2519 – 2536 รวม 18 ปี

9. พระครูคุณสารสาทร (ทองดี ฐิตายุโก) พ.ศ. 2537 – 2538 รวม 2 ปี

10. พระเทพกวี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) พ.ศ. 2539 – 2541 (รก.) รวม 3 ปี

11. พระเทพปัญญามุนี (ทองดี ฐิตายุโก) พ.ศ. 2542 – ปัจจุบัน

พระสิทธิสารโสภณ (สงวน โฆสโก)

พ.ศ. 2483 เมื่อวัดอาวุธวิกสิตาราม ธนบุรี ว่างเจ้าอาวาส เพราะพระปลัดเรือง เจ้าอาวาสมรณภาพ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดบวรนิเวศวิหาร จึงรับสั่งให้พระมหารัชมังคลาจารย์ (เทศน์ นิเทสโก) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ (ครั้งมีสมณศักดิ์เป็น พระรัชมงคลมุนี) ส่งพระภิกษุผู้มีความสามารถไปเป็นเจ้าอาวาสปกครองบริหารวัดต่อไปพระมหารัชมังคลาจารย์ได้พิจารณาผู้มีความสามารถแล้ว เห็นว่าพระสิทธิสารโสภณ (ขณะเป็น พระครูสังฆรักษ์สงวน โฆสโก) วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นผู้สมควรแก่ตำแหน่งเจ้าอาวาส จึงได้ส่งไปที่วัดอาวุธวิกสิตาราม โดยเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2483 สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดบวรนิเวศวิหาร ได้แต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตารามในเวลาต่อมา

พระสิทธิสารโสภณ เดิมชื่อ สงวน นามสกุล สีตลายัน เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2442 ณ ตำบลคลองบ้านแหลม (ปัจจุบันเรียกว่า คลองพระอุดม) มีบิดาชื่อ นายเย็น สีตลายันมารดาชื่อ นางเครื่อง สีตลายัน เมื่ออายุ 8 ขวบ (พ.ศ. 2449) ได้ศึกษาอักษรสมัยบูรพบทบรรพกิจจนจบหลักสูตรในสมัยนั้น อายุ 12 ขวบ (พ.ศ. 2453) ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดจักรวรรดิราชาวาส หรือวัดสามปลื้ม ได้ศึกษามูลกัจจายน์บาลี แต่ได้ลาสิกขาไประยะหนึ่ง อายุ 16 ปี (พ.ศ. 2457) ได้บรรพชาเป็นสามเณรครั้งที่ 2 ที่วัดราชาธิวาส มีพระอาจารย์ท้วมวัดบางขวาง จังหวัดนนทบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้เรียนนักธรรมและบาลีไวยากรณ์ ต่อมาไดย้ายไปอยทูี่วั่ดสมั พันธวงศ์ พรอ้ มทั้งสามเณรอีก 6 รูป ติดตามพระครูพุทธมนต์ปรชี า จนกระทั่งสอบไล่ได้นักธรรมชั้นโทเมื่ออายุครบอุปสมบท ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดสัมพันธวงศ์ โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นพระอุปัชญาย์พระครูวิบูลย์สีลขันธ์ (เทศน์ นิเทสโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พ.ศ. 2483 พระสิทธิสารโสภณ (สงวน โฆสโก) ได้ย้ายจากวัดสัมพันธวงศ์มาปกครองวัดอาวุธวิกสิตารามแล้ว ได้เห็นศาสนสถานมีความคับแคบ และศาสนวัตถุของวัดจำนวนมากชำรุดทรุดโทรม ท่านจึงมีความริเริ่มที่จะขยายธรณีสงฆ์ ทำนุบำรุงเสนาสนะ พัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองสมควรตามกาลสมัย จึงได้ดำเนินการดังนี้

1. ได้บอกบุญผู้มีจิตศรัทธา เพื่อจัดหาที่ดินขยายเขตวัดออกไปจนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ ที่ดินประมาณ 4 ไร่เศษ

2. อนุญาตให้ทางราชการตัดถนนผ่านที่ดินวัด ใช้ผิวถนนเป็นทางสัญจรไปมา จากถนนจรัญสนิทวงศ์ถึงบริเวณหน้าวัด

3. จัดหาที่นา รวม 194 ไร่ 3 งาน ที่อยู่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และคลองราชนิยม, บางบัวทอง, บางเขน และบางพลัด ให้เป็นที่ธรณีสงฆ์

4. ได้ก่อสร้างอาคำรเรียนพระปริยัติธรรม 1 หลัง

5. ได้ก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ 2 ชั้น ร่วมกับคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2511 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ราชทินนามว่า “พระสิทธิสารโสภณ” นับว่าเป็นพระราชาคณะรูปแรกของวัดอาวุธวิกสิตาราม ท่านอุทิศตนมุ่งทำประโยชน์แก่สังคมและแก่พระศาสนาตลอดชีวิต คือ ทำตนให้เป็นประโยชน์ ทำตนให้เป็นที่พึ่งอาศัยของวัดและคนอื่น ตั้งแต่บวชเป็นพระมาก็ได้ทำตนให้วัดอาศัยไม่เพียงแต่อาศัยวัดฝ่ายเดียว เมื่อเป็นสมภารเจ้าวัดก็ไม่เป็นสมภารอาศัยวัด แต่วัดอาศัยท่านวัดจึงได้เจริญรุ่งเรืองมาตลอด

พระสิทธิสารโสภณ อาพาธด้วยโรคปอด ตั้งแต่ ปี 2490 ได้เข้ารับการรักษาเรื่อยมา ถึงปี 2517 อาการกำเริบขึ้น คณะศิษยานุศิษย์พาท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น ท่านได้มรณภาพลงเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2517 สิริอายุรวมได้ 75 ปี 54 พรรษา รวมระยะเวลาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองวัดอาวุธวิกสิตาราม 35 ปี

พระมหาสุเทพ ฐิโตภาโส

พ.ศ. 2517 สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒนมหาเถระ) วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระบัญชาแต่งตั้ง พระมหาสุเทพ ฐิโตภาโส เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสอยู่เป็นระยะเวลา 1 ปีเศษ

พระอริยคุณาภรณ์ (สุบิน เขมิโย)

พ.ศ. 2518 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้ทรงแต่งตั้งให้พระอริยคุณาภรณ์ (สุบิน เขมิโย) วัดเครือวัลย์วรวิหาร มาเป็นเจ้าอาวาสปกครอง เป็นระยะเวลา 11 เดือน ก็ย้ายกลับไปรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์วรวิหาร

พระเทพเมธากร (จันทร์ จนฺโท)

พ.ศ. 2519 วันที่ 28 มิถุนายน 2519 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสนมหาเถระ) จึงได้ทรงแต่งตั้ง พระเทพเมธากร (จันทร์ จนฺโท) อายุ 62 พรรษา 42 วัดเทพศิรินทราวาส (พระอมราภิรักขิต) เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดอาวุธวิกสิตาราม

พระเทพเมธากร เดิมชื่อ จันทร์ นามสกุล ขัตติยานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2457 ณ บ้านขว้าง ตำบลกลาง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีบิดาชื่อ ศรีสุนนท์ ขัตติยานนท์ มารดาชื่อ พูลพันธ์ขัตติยานนท์ มีพี่น้องด้วยกัน 6 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 6 จบชั้นประถมศึกษาชั้นต้น เมื่อ พ.ศ. 2472 จากโรงเรียนประชาบาลอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ต่อมาได้ย้ายไปพำนักอยู่ที่บ้านก้านเหลือง ตำบลแวงน้อย อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

ท่านบรรพชาเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2474 ณ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายกรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรมหาเถระ) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ อายุ 20 ปี ได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2477 ณ พัทธสีมาวัดเทพศิรินทราวาสเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรมหาเถระ) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอุดมศีลคุณ (อิน อคฺคิทตฺโต) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูปลัดสัมพิพัฒนศีลาจารย์ (เทียน ปภสฺสโร) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากการบรรพชาและอุปสมบทแล้ว ได้มีความวิริยะอุตสาหะศึกษาเล่าเรียนจนกระทั่งสามารถสอบไล่ได้นักธรรมและเปรียญธรรม ดังนี้

พ.ศ.2476 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี และเปรียญธรรม 3 ประโยค ในสำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส

พ.ศ.2477 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท และเปรียญธรรม 4 ประโยค ในสำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส

พ.ศ.2479 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม 5 ประโยค ในสำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส

พ.ศ.2481 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค ในสำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส

พระเทพเมธากรท่านเจริญในสมณศักดิ์ ดังนี้

พ.ศ. 2503 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูจันทร์ญาณโสภณ

พ.ศ. 2510 เป็นพระราชาคณะที่ พระอมราภิรักขิต

พ.ศ. 2521 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชมุนี

พ.ศ. 2533 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพเมธากร

จากผลงานการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะพัฒนาวัดวาอาราม พร้อมทั้งการจัดการศึกษาที่วัดอาวุธวิกสิตาราม จึงได้ดำรงตำแหน่งหน้าที่การงานดังนี้

พ.ศ. 2519 เป็นเจ้าอาวาสและเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดอาวุธวิกสิตาราม

พ.ศ. 2520 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ. 2528 เป็นกรรมการในการสังคำยนาตรวจชำระพระไตรปิฎก

พ.ศ. 2534 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม

พระเทพเมธากร มรณภาพด้วยโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 4 พฤศจิกายน 2536 เวลา 20.30 น. สิริอายุรวมได้ 79 ปี 10 เดือน 60 พรรษา รวมระยะเวลาเป็นเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม 18 ปี

พระเทพกวี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)

เมื่อวัดอาวุธวิกสิตาราม ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 พระธรรมโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส เจ้าคณะภาค 1, 2, 3 และ 12, 13 (ธ) จึงได้มีคำสั่งเจ้าคณะภาคที่ 1/2539 แต่งตั้งให้พระเทพกวี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) อายุ 60 ปี พรรษา 40 วัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ (ธ) ดำรงตำแหน่งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตารามพระอารามหลวงแต่งตั้ง ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2539 เป็นต้นไป

ซึ่งภายหลังพระเทพกวีได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระวันรัต

พระเทพปัญญามุนี (ทองดี ฐิตายุโก)

พระเทพปัญญามุนีซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปเดิมได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม พระอารามหลวง จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวัฒนมหาเถระ) เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2539 เนื่องจากขณะนั้นท่านมีสมณศักดิ์เป็นพระครูคุณสารสาทรมีตำแหน่งเป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะแขวงชั้นโทซึ่งสมณศักดิ์ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง

ต่อมาท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรรองเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโทเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2540 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตารามพระอารามหลวง 5 ธันวาคม 2542 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระมงคลธรรมวัฒน์

12 สิงหาคม 2547 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปริยัติวิมล

5 ธันวาคม 2552 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพปัญญามุนี

พ.ศ. 2539 ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง 

วัดอาวุธวิกสิตาราม ได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2539 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113 ตอนที่ 44 วันที่ 30 พฤษภาคม 2539

เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง 

ปีพุทธศักราช 2539 วัดอาวุธวิกสิตาราม ได้รับคัดเลือกจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างประจำปี 2539 โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธานในพิธีประทานโล่วัดพัฒนาตัวอย่างเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2539

เป็นวัดที่ทรงบำเพ็ญพระกุศลถวายเทียนพรรษา 

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ได้เสด็จทรงบำเพ็ญพระกุศลถวายต้นเทียนพรรษา ณ วัดอาวุธวิกสิตารามเพื่อประทานเทียนพรรษาแด่วัดต่างๆ ในเขตบางพลัด และวัดบางวัดในต่างจังหวัด รวม 29 วัด โดยเสด็จทรงบำเพ็ญพระกุศลถวายต้นเทียนพรรษาที่วัดอาวุธวิกสิตารามนี้ เป็นประจำทุกปี พสกนิกรทั้งมวลมีโอกาสเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ ด้วยความจงรักภักดีอย่างใกล้ชิด มีคณะกรรมการวัด และคณะแม่บ้านทหารบก เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และมีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา มาเฝ้ารับเสด็จเป็นประจำทุกปี โดยเริ่ม เสด็จฯ ตั้งแต่พ.ศ. 2524 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2557) รวม 34 ปี

เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม 

วัดอาวุธวิกสิตาราม ได้ชื่อว่าเป็นสำนักวิปัสสนาที่สำคัญแห่งหนึ่งมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันมีการปฏิบัติธรรมอบรมจิตภาวนาแก่พุทธศาสนิกชนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชาวันอาสาฬหบูชา และในโอกาสพิเศษสำคัญสำหรับพสกนิกรชาวไทย คือ วันที่ 5 ธันวามหาราช วันที่ 12 สิงหามหาราชินี และวันที่ 3 ตุลาคมสังฆราชา อันเป็นวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เป็นที่ตั้งฌาปนสถานกองทัพบก 

พ.ศ. 2532 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก ได้ขออนุญาตวัดอาวุธวิกสิตาราม ขอปรับปรุงฌาปนสถานของวัด ให้เป็นฌาปนสถานกองทัพบก เพื่อบริการสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์กองทัพบก ข้าราชการทหารที่อยู่ย่านฝั่งธนบุรี ให้ได้รับความสะดวกในการจัดฌาปนกิจศพ ตลอดถึงเพื่อบริการประชาชนทั่วไปให้ได้รับความสะดวกในการบำเพ็ญกุศลศพ

คณะกรรมการวัดอาวุธวิกสิตาราม

กรรมการวัดอาวุธวิกสิตาราม มีบทบาทสำคัญในการบริหารวัด ให้มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ เช่น การปกครอง การสาธารณูปการ การเผยแผ่ การศึกษา เป็นต้น จึงมีรายนามกรรมการ ดังนี้

พระเทพปัญญามุนี (ทองดี ฐิตายุโก) เจ้าอาวาส

พระราชดิลก (ประนต กิตฺติวฑฺฒโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส

พระศรีวินยาภรณ์ (สายรุ้ง อินฺทาวุโธ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส

พระครูสุทัศนมุนี ผู้ช่วยเจ้าอาวาส

พระครูโชติธรรมสุนทร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พระครูคุณสารสาทร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พระครูพันธศีลาจารย์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พระครูประภัสสรศีลโสภิต ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พระมหาสุธรรม คุณกโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พระครูวินัยธรทรงศักดิ์ วุฑฺฒิโก ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พระมหาอภิชัย อภิชโย ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พระมหาธีระวัฒน์ ธีรวฑฺฒโน ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พระครูสุทัศนมุนี เลขานุการวัด
นายจำลอง เนียมลาภ ไวยาวัจกรวัด
นายประจักษ์ พุทธิสมบัติ ไวยาวัจกรวัด
นายวิชิต เสรีรัฐ ไวยาวัจกรวัด
นายสายัณห์ มั่นเหมาะ ไวยาวัจกรวัด
ว่าที่ร้อยตรีอนุสรณ์ เนียมลาภ ไวยาวัจกรวัด

หลวงพ่อสัมฤทธิ์  (พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์) 

หลวงพ่อสัมฤทธิ์เป็นพระพุทธปฏิมาเก่าแก่สมัยโบราณประจำวัดอาวุธฯ เนื้อสัมฤทธิ์ มีอายุมากกว่าร้อยปี พระครูแจ่ม ทานโท ได้พบว่าท่านลอยน้ำที่วัดเครือวัลย์แล้วอาราธนามาประดิษฐานที่วัดอาวุธวิกสิตารามตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ทุกปีวันสงกรานต์ ทางวัดก็ได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อมาให้ประชาชนถวายสักการะ กราบไหว้บูชาขอพรเพื่อเป็นศิริมงคลของชีวิต ความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อสัมฤทธิ์นี้มีประชาชนบอกเล่าสืบๆ กันมาว่า เมื่อมากราบไหว้บูชาขอพรแล้ว ทุกข์โศกโรคภัยไข้เจ็บก็จะมลายหายไป ความปรารถนาทุกอย่าง จะสำเร็จเร็วพลัน ด้วยอำนาจพุทธคุณที่มีอยู่ในองค์หลวงพ่อ