นิวรณ์กับกระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท
คำสำคัญ:
นิวรณ์, กระบวนการบรรลุธรรม, พุทธปรัชญาเถรวาทบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษานิวรณ์ในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษากระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์นิวรณ์กับกระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบเอกสาร ซึ่งศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฏก อรรถกถา ตำราและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่า 1) นิวรณ์ในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นธรรมชาติที่กั้นจิตไม่ให้เข้าถึงความดี ห้ามจิตไม่ให้สงบเป็นสมาธิ ปิดกั้นปัญญา ไม่ให้เข้าถึงพระนิพพาน มี 5 อย่าง ได้แก่ กามฉันทะ คือ ความพอใจในกามคุณ, พยาบาท คือ ความแค้นเคือง, ถีนมิทธะ คือ ความหดหู่ท้อแท้, อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ และวิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย 2) กระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท คือ ขั้นตอนที่นำไปสู่การบรรลุมรรคผลในพุทธปรัชญาเถรวาท กล่าวคือพระอริยบุคคล ซึ่งเป็นผู้ชำระกิเลสด้วยการปฏิบัติดังนี้ คบสัตบุรุษ ฟังสัทธรรมเพื่อคลายกำหนัด เกิดศรัทธา มีโยนิโสมนสิการ มีสติสัมปชัญญะ สำรวมระวังอินทรีย์ มีความประพฤติทางกาย วาจาและใจดี เจริญสติปัฏฐาน 4 และโพชฌงค์ 7 จนนำไปสู่การเกิดปัญญาแล้วบรรลุวิชชาและวิมุตติในที่สุด และเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับชั้น 3) วิเคราะห์นิวรณ์กับกระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท สรุปว่า นิวรณ์กับกระบวนการบรรลุธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท ทำให้เข้าใจได้ว่ากระบวนการบรรลุธรรมในแต่ละมรรคญาณจะเป็นการกำจัดนิวรณ์ไปตามลำดับขั้น กล่าวคือ การละกามฉันทะจะสามารถเป็นไปได้ด้วยอรหันตมรรค การละพยาบาท จะสามารถเป็นไปได้ด้วยอนาคามิมรรค การละถีนมิทธะ จะสามารถเป็นไปได้ด้วยอรหันตมรรค การละอุทธัจจกุกกุจจะ จะสามารถเป็นไปได้ด้วยอรหันตมรรคและการละวิจิกิจฉา จะสามารถเป็นไปได้ด้วยโสดาปัตติมรรค
References
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2557). พระไตรปิฎกและอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์. (2535). พิมพ์ครั้งที่ 7. พระโอวาทธรรมบรรยาย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2537). ธรรมดุษฎี. กรุงเทพฯ: ส่องศยาม.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2548). พิมพ์ครั้งที่ 3. สมาธิในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2554). พิมพ์ครั้งที่ 3. จิตศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2560). หลักสูตรอารยชน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง
เฮ้าส์.
พระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐฃิตวณฺโณ). (2554). บทอบรมกรรมฐาน หลักสูตร 15 วัน ตอนที่ 1. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์ 50.
พระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐฃิตวณฺโณ). (2554). บทอบรมกรรมฐาน หลักสูตร 15 วัน ตอนที่ 2. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์ 50.
พระเทพดิลก (ระแบบ ฐฃิตญฃาโณ). (2551). อธิบายหลักธรรมตามหมวดจากนวโกวาท. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระภาวนาพิศาลเมธี (ประเสริฐ มนฺตเสวี). (2558). วิปัสสนาภาวนา ที่ไม่ได้ถูกเขียนไว้ในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.
พระครูสุวรรณกิจสุนทร (สมศักดิ์ ฐฃิตสีโล). (2558). ศึกษาการละกามฉันทนิวรณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวิเชียร โชติธมฺโม (จันทะมั่น). (2555). การศึกษาของนิวรณ์ในวัมมิกสูตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.