ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษาคณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาเพชรบุรี วัดเนรัญชราราม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • พระรัตนพล ปรกฺกโม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษาคณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครองของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาเพชรบุรี วัดเนรัญชราราม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษาคณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครองของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาเพชรบุรี วัดเนรัญชราราม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ที่มีเพศ อายุ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษาคณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ การปกครองของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาเพชรบุรี วัดเนรัญชราราม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เครื่องมือที่ใช้ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 100 คน ที่หาได้โดยวิธีการเปิดตารางสำเร็จของเกรจซี่ (Krejcie) และมอร์แกน (Morgan) และใช้วิธีการการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) แบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) ตามแผนกที่ศึกษา โดยการจับฉลากแบบทดแทน สถิติที่ใช้คือ สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานคือ การทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) หากพบความแตกต่างจะทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheff?) แล้วนำมาวิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์

ผลการวิจัย พบว่า 1. นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาเพชรบุรี วัดเนรัญชราราม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษา โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.86 และจำแนกในแต่ละด้าน โดยเรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังต่อไปนี้ ด้านสถาบันอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.03 รองลงมา คือ ด้านหลักสูตร อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.88 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.66 2. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาเพชรบุรี วัดเนรัญชราราม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ที่มีเพศอายุ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษา โดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3. นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาเพชรบุรี วัดเนรัญชราราม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา ดังนี้ ด้านสถาบัน ได้แก่ บริเวณสถาบันน่าจะปิดไม่ให้มีการเลี้ยงสัตว์สภาพพื้นที่มีขี้วัวเยอะมาก จึงควรมีการป้องกันการรุกล้ำของสัตว์การ ทำรั้วกัน ด้วยการทำรั้ว และประชาสัมพันธ์กับชาวบ้านห้ามนำสัตว์มาเลี้ยง ด้านหลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการเรียนการสอนไม่ต่อเนื่องกันจึงควรมีการวางหลักสูตรให้ต่อเนื่องกัน ด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา ได้แก่ ระบบการจัดเก็บหลักฐานไม่มีมาตรฐาน เปิดปัญหากับนักศึกษา จึงควรมีระบบให้มีมาตรฐาน มีหลักฐานตรวจสอบได้ง่าย

References

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น, 2545.

มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์. คู่มือการศึกษา.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์รายวันการพิมพ์, 2549.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ?แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554?. กรุงเทพมหานคร : องค์การค้าคุรุสภา, 2551.

สำนักงาน ก.พ.. ?โครงการตามรอยพระราโชวาท?. 30 พฤศจิกายน 2554. <http://www.oeadc.org/caution/plonearticlemultipage> (24 พฤศจิกายน 2550)

จริยา โคจรนา. ?ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลพบุรี?. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.

ชลีนุช บุญน้อม. ?องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาวิชาระบบสารสนเทศ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล?. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2543.

ธีเรก วิทยายุทธ. ?ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สรรพสามิตในเขตพื้นที่สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 6 ที่มีต่อการบริหารงานหลังการปฏิรูประบบราชการของกรมสรรพสามิต พ.ศ. 2545?. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 2549.

พล เหลืองรังสี. ?ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2546 สถาบันราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์?. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2546.

ประเวศ วะสี. ?การประชุมทางวิชาการอุดมศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 1 28-29 กรกฎาคม 2532 ณ ห้องประชุมสารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย?. ใน การปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ์, ม.ป.ป. (อัดสำเนา).

ฝ่ายทะเบียนและวัดผล. วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. ?สรุปยอดนักศึกษาประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2554?. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554. (อัดสำเนา).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-15