ความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการบริหารงานของพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
เจ้าอาวาส, พระสงฆ์, ความคิดเห็นบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการบริหารงานของพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานของพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ของคณะสงฆ์ที่มี วิทยฐานะทางโลก วิทยฐานะทางธรรม และพรรษา ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการบริหารงานของพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร วิจัยนี้นี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พระสงฆ์อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 250 รูป แบ่งประชากรออกเป็นชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) หากทดสอบแล้วพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ เชฟเฟ่ (Scheff?)วิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อการบริหารงานของพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร รวม 6 ด้าน แปลผลค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการปกครอง รองลงมา ได้แก่ ด้านสาธารณูปการ ด้านการ ศาสนศึกษา ด้านสาธารณสงเคราะห์ ด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม และค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย พบว่า พระสงฆ์ที่มีวิทยฐานะทางโลก วิทยฐานะทางธรรม และพรรษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานของพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการบริหารงานของพระสังฆาธิการ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า 1) ด้านการปกครอง ความถี่สูงสุด ได้แก่ การเสนอแต่งตั้งพระสังฆาธิการควรพิจารณาหลักความสามารถมากกว่าความอาวุโส 2) ด้านการเผยแผ่ศาสนธรรม ความถี่สูงสุด ได้แก่ เจ้าอาวาส แต่ละวัดควรจัดส่งพระภิกษุสามเณรไปอบรมจริยธรรม ศีลธรรมแก่นักเรียนตามสถานการศึกษาเป็นประจำ 3) ด้านการศาสนศึกษา ความถี่สูงสุด ได้แก่ เจ้าอาวาสควรสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรภายในวัดได้ศึกษาต่อในระดับสูงยิ่งขึ้นไปทั้งทางโลกและทางธรรมตามความสามารถ 4) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ความถี่สูงสุด ได้แก่ เจ้าอาวาสควรมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ยากจนเป็นประจำทุกปี 5) ด้านสาธารณูปการ ความถี่สูงสุด ได้แก่ เจ้าอาวาสควรมีการวางแผนการก่อสร้างถาวรวัตถุทั้งในปัจจุบันและอนาคต 6) ด้านสาธารณสงเคราะห์ ความถี่สูงสุด ได้แก่ คณะสงฆ์ควรจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์วัดที่ประสบสาธารณภัยหรือขาดแคลน
References
กฤษฎา ประศาสน์วุฒิ. วิธีการวิจัยทางสหกรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, 2551.
กลุ่มงานฝึกอบรมการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). ตำราชุดฝึกอบรมหลักสูตรนักวิจัย.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2547
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 2. ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2541.
การศาสนา. กรม. คู่มือจัดการศึกษาสงฆ์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2539.
การศาสนา. กรม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2540.
การศาสนา. กรม. คู่มือพระสังธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, 2542.
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2527.
จันทรานี สงวนนาม. เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง. ม.ท.ป., 2546.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2538.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารการพัฒ น าและการพัฒ น า การบ ริห าร. นน ทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548.
ถวิล ธาราโภชน์. จิตวิทยาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2526.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. ประสบการณ์วิชาชีพบริหารรัฐกิจ : การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550.
ทวี พลรัตน์. คู่มือพระสังฆาธิการ ว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพ มหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2540.
ธงชัย สันติวงษ์. ทฤษฎีองค์การและการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์ จำกัด, 2541.
ธีระศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. เครื่องมือวิจัยทางการศึกษา : การสร้างและการพัฒนา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.
น้อย ลายคราม และสุบรรณ จันทบุตร. การบริหารและการจัดการวัด ให้เป็นศูนย์กลางชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ, 2539.
นิภา เมธธาวีชัย. วิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏธนบุรี, 2543.
นีออน กลิ่นรัตน์. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. ขอนแก่น : ฝ่ายวิจัยและพัฒนาศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาการสาธารณสุข, 2530.
บุญชม ศรีสะอาด. รศ.,ดร. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น, 2545.
ประพันธ์ สุริหาร. หลักและระบบบริหารการศึกษา. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2549.
ประเวศ วะสี. พระสงฆ์กับการเรียนรู้เท่าทันสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน, 2540.
ปัญญา หิรัญรัศมี. รศ.,ดร. การบริหารและนิเทศงานส่งเสริมการเกษตร. นนทบุรี : มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, 2552.
พระเทพปริยัติสุธี. ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2540.
พระธรรมวรนายก (โอภาส นิรุตฺติเมธี). ธรรมปริทัศน์ ?46?. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตโต). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สหธรรมิก, 2539.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). กระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคนสู่ประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2543.
พระมหาสมทรง สิรินธโร และคณะ. บทบาทของวัดและพระสงฆ์ไทยในอนาคต. กรุงเทพมหานคร : บริษัทเกล็ดไทย จำกัด, 2525.
ไพรถ เลิศพิริยกมล. สภาพปัญหาสังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์, กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสภาสถาบันราช
ภัฏ, 2539.
ไพศาล หวังพานิช. การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2536.
มาณพ พลไพรินทร์. คู่มือการบริหารกิจการคณะสงฆ์. กรุงเทพมาหนคร: ชุติมาการพิมพ์, 2531.
ล้วน สายยศ และอังคนา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น, 2540.
ส่งศรี ชมภูวงศ์. การวิจัย. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 2547.
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์. การเผยแผ่พระพุทธศาสนา. คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยเรื่อง การคณะสงฆ์และการพระศาสนา ใน ทวี พลรัตน์ (บรรณาธิการ). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2540.
สมพร เทพสิทธา. บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : สภายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, 2538.
สุชา จันทร์เอม และสุรงค์ จันทร์เอม. จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แพร่วิทยา, 2520.
สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง. อุดมการณ์ทางสังคม. กรุงเทพมหานคร : อภัยการพิมพ์, 2534.
จรินทร์ ยังสังข์. ?บทบาทพระสงฆ์ในกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคม?. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.
ธันยพร พงษ์โสภณ. ?ความคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อบทบาทการบริหารงานของพระสังฆาธิการ จังหวัดกาญจนบุรี?. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539.
บุญศรี พานะจิตต์. ?ความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจของวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีวัดสวนแก้ว อำเภอบางใหญ่จังหวัดนนทบุรี?. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
พระครูสังวราภินันท์. ?ความคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อการบริหารงานของพระสังฆาธิการระดับวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก?. ศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพิษณุโลก, 2553.
พระมหาสมชาย เจริญกิจ. ?บทบาทของวัดพัฒนาตัวอย่างในการช่วยเหลือสังคม : ศึกษาเฉพาะกรณีวัดในกรุงเทพมหานครกับวัดในภาคกลาง?. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2540.
พระมหาดุล จีรวฑฺโฒ. ?การศึกษาสภาพการบริหารงานการคณะสงฆ์ ของพระสังฆาธิการ ระดับอำเภอและระดับตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา?. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2549.
พระสุพิศ วันทะวงษ์. ?บทบาทเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์อำเภอขุนหาญจังหวัดศรีสะเกษ?. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2551.
อุดร ขัติยพงศ์. ?การศึกษาวิธีดำเนินการจัดการการศึกษาในศาสนสถาน จังหวัดนครราชสีมา?. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2538.
สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร. ?ทะเบียนสำรวจจำนวนพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัด ประจำปี พ.ศ.2544?, (อัดสำเนา).สมชัย วงษ์นายะ. รศ.,ดร. และ ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์. รศ.,ดร. ?เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัย?. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษากำแพงเพชร, 2551, (อัดสำเนา).