สมรรถนะการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานเลขาธิการ สำนักงานอัยการสูงสุด

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา กำเลิศภู คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • บุญเหลือ บุบผามาลา คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

สมรรถนะการปฏิบัติงาน, สำนักงานอัยการสูงสุด, ข้าราชการธุรการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุดจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด? กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการธุรการ สำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด รวมจำนวนทั้งสิ้น 210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าที และการทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ความตากต่างรายคู่ โดยวิธี Scheffe โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้วิจัยได้นำรูปแบบสมรรถนะหลักที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนกำหนด คือ 1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) บริการที่ดี 3) การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 4) การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม และ 5) การทำงานเป็นทีม มาเป็นรูปแบบในการศึกษา

????????? ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้อง ชอบธรรมและจริยธรรม และด้านการบริการที่ดี 2) ข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด ที่มีเพศ ตำแหน่ง และภูมิลำเนาแตกต่างกัน มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุดที่มีอายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และอัตราเงินเดือนแตกต่างกัน มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด ที่มีอายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และอัตราเงินเดือนต่างกันมีสมรรถนะการปฏิบัติงานแตกต่างกันทุกด้าน (มีค่า sig ต่ำกว่า 0.05 ทุกด้าน) และ 3) ข้าราชการธุรการสังกัดสำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด ได้เสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ จำนวน 5 ด้าน จำแนกเป็นรายด้าน คือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ บุคลากรควรปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบอย่างเต็มความสามารถ บุคลากรควรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็วถูกต้อง และควรมีเป้าหมายในการทำงานเดียวกัน ด้านการบริการที่ดี บุคลากรควรให้การบริการเสมอภาคกับผู้รับบริการทุกคนและบุคลากรควรให้บริการด้วยความรวดเร็ว ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ บุคลากรควรมีการเรียนรู้พัฒนาด้ายตนเองตลอดเวลา บุคลากรควรนำความรู้ของตนไปใช้ในการสร้างวิสัยทัศน์เพื่อการปฏิบัติงานในอนาคต และบุคลากรควรมีความชำนาญในแต่ละด้าน ด้านการยึดมั่นในความถูกต้อง ชอบธรรมและจริยธรรม บุคลากรควรรักษาคำพูดและบุคลากรกล้าตัดสินใจปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความถูกต้อง ด้านการทำงานเป็นทีม บุคลากรควรวางแผนร่วมกันในทีมและบุคลากรควรให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทีมงาน???????

References

กนกวรรณ ขัดโพธิ์. (2556). สมรรถนะในการปฏิบัติงานและความต้องการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิตติสานติ์ วุฒิเวชช์. (2553). ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะหลักในการปฏิบัติราชการของพนักงานคุมประพฤติ กรมคุมประพฤติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชยุต สุดดวงแก้ว. (2555). การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์การภาครัฐและเอกชน, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มะลิ ผงจำปา. (2557). สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลในเขต อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สมฤทัย อยู่รอด. (2555). ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะหลักของพนักงานมหาวิทยาลัย (สายสนับสนุน) สังกัดสำนักงานอธิบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สำนักงานอัยการสูงสุด. (2559). แผนปฏิบัติราชการประจำปีสำนักงานอัยการสูงสุด. กรุงเทพฯ : สำนักงานอัยการสูงสุด.

อนุชา เพ็งสุวรรณ. (2548). การศึกษาความต้องการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการสำหรับการรองรับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่ : กรณีศึกษาข้าราชการพลเรือนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.). วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Kaplan, R. S. and Norton, D. P. (1996). The Balanced Scorecard : translating strategy in action. Boston : Harvard Business School Publishing Corporation.

Taro Yamane(1973 ).Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.New York.Harper and Row Publications.

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29