การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนตำบลผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • นิดสันติ์ พรมเกตุ คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • สุปัน สมสาร์ คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ประชาชน, การเมืองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนตำบลผักปัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนในพื้นที่ตำบลผักปัง จำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.779

????????? ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในตำบลผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการดำเนินการเลือกตั้ง รองลงมาคือด้านหลักอปหาริยธรรมส่งเสริมการมีส่วน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการตัดสินใจทางการเมือง

????????? การวิเคราะห์เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในตำบลผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ที่จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ และระดับการศึกษา โดยภาพรวมประชาชนในตำบลผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ที่มีเพศ อายุ สถานภาพ และระดับการศึกษา ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นไม่แตกต่างกัน

????????? ผลการวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในตำบลผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ ควรมีการประชาสัมพันธ์และประกาศตามกำหนดระยะเวลาเหมาะสมในการเลือกตั้งสามารถตรวจสอบรายชื่อ

References

กองการประชาสัมพันธ์, กรุงเทพมหานคร. (2553). สถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร เดือนกรกฎาคม ปี 2553. กรุงเทพฯ: กองการประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร.

กัลยา หนูสาย. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2543). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : กรณีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2535). คู่มือเทคนิควิธีการส่งเสริมประสิทธิภาพในหน่วยราชการ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ปฏิบัติการโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพในส่วนราชการ สำนักงาน ก.พ. พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535.

วรทิพย์ มีมาก และคณะ. (2547). หน้าที่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข. กรุงเทพมหานคร : รำไทยเพรส.

วัชรี ทรัพย์มี. (2523). การแนะแนวในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : บริษัทธีรฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.

อนุรักษ์ นิยมเวช. (2554). บทความเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

Weiner, Myron. (1971). Political Participation: Crisis of Political Process. pp 161-163 in Leonard, Binder and others, eds. Crisis on Sequences in Political Development. Princeton: Princeton University Press.

Yamane, Taro. (1973). statistic and Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper & Row.

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29