การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองแวงแก้มหอม อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วรานุช เทพจันทร์ คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • โกศล สอดส่อง คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, หลักธรรมาภิบาล, เทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองแวงแก้มหอม อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลหนองแวงแก้มหอม จำนวน 373 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่า (T-Test) และใช้สถิติเอฟ (F-Test)

??????????????????? ผลการวิจัยพบว่า

  1. การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองแวงแก้มหอม อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.26,S.D.=0.58) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านหลักความรับผิดชอบ (?= 4.30, S.D.= 0.54) รองลงมาคือด้านหลักการมีส่วนร่วม (?= 4.29, S.D. = 0.54) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านหลักนิติธรรม (?= 4.23, S.D.= 0.63)?????
  2. ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองแวงแก้มหอม อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยภาพรวมพบว่า เพศไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพแตกต่างกัน พบว่าแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  3. ข้อเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหนองแวงแก้มหอม อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ควรมีมาตรการในการส่งเสริมจริยธรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เช่น การอบรมด้านจริยธรรม การให้รางวัลแก่ผู้ประพฤติดีและลงโทษผู้ที่กระทำการทุจริต เป็นต้น

References

กัญช์ อินทนู. (2550). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานการศึกษาอิสระหลักสูตรรัฐประศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2544). โครงการพัฒนาที่มีภัยร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมการป้องกันภัยและการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น. สมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร:บริษัท พีเอลิฟวิ่ง จำกัด.

ปฐม มณีโรจน์. (2554). สาธารณคดี ภาครัฐในมุมมองกฎหมายการเมืองและการบริหาร. กรุงเทพฯ: สุภาภรณ์การพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2538). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ: สุวีริยาศาสน์.

?รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560?. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, น. 32-46.

สุพจน์ ทรายแก้ว. (2553 ). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะใน. ศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

Taro Yamane. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York.Harper and Row Publications.

Scheffe, H. (1953). A method for judging all contrasts in the analysis of variance. Biometrika.

Wilson, W. W., & McLaren, R. C. (1973). Police Administration. New York : McGraw-Hill.

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29