รูปแบบการบูรณาการปรัชญาหลังนวยุคและหลักพุทธธรรมแห่งสัปปายะ เพื่อการพัฒนาวัดสร้างสุขในสังคมดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • พระมหาธณิสร จนฺทวณฺโณ (วรตันติ) มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สวัสดิ์ อโณทัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • สมบูรณ์ บุญโท มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, ปรัชญาหลังนวยุค, พุทธธรรมแห่งสัปปายะ

บทคัดย่อ

?บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามโนทัศน์เกี่ยวกับการพัฒนาวัดสร้างสุขในสังคมดิจิทัล 2) ศึกษาปรัชญาหลังนวยุคและหลักพุทธธรรมแห่งสัปปายะ 3) บูรณาการปรัชญาหลังนวยุคและหลักพุทธธรรมแห่งสัปปายะเพื่อการพัฒนาวัดสร้างสุขในสังคมดิจิทัล 4) สร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบการบูรณาการปรัชญาหลังนวยุคและหลักพุทธธรรมแห่งสัปปายะเพื่อการพัฒนาวัดสร้างสุขในสังคมดิจิทัล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงเอกสารและการศึกษาภาคสนาม ภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญาและศาสนา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาวัดสร้างสุข เป็นการพัฒนาอย่างสอดคล้องระหว่างวัด บ้าน และชุมชน ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันในการพัฒนาและแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะพุทธบริษัททั้ง 4 ต้องร่วมกันพัฒนาในกิจกรรมทุกอย่าง สำหรับการพัฒนาวัดสร้างสุขในสังคมดิจิทัลนั้น เน้นการพัฒนาแบบบูรณาการให้เกิดความสมดุลใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกายภาพ 2) ด้านจิตภาพ 3) ด้านพฤติภาพ และ 4) ด้านปัญญาภาพ ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาวัดสร้างสุขในสังคมดิจิทัลอย่างยั่งยืน โดยแนวทางในการพัฒนาวัดสร้างสุขนั้น ได้บูรณาการด้วยปรัชญาหลังนยุคของมิเชล ฟูโกต์ และหลักพุทธธรรมแห่งสัปปายะ ประกอบด้วย? หลักอาวาสสัปปายะ หลักโคจรสัปปายะ หลักภัสสสัปปายะ หลักปุคคลสัปปายะ หลักโภชนสัปปายะ? หลักอุตุสัปปายะ และหลักอิริยาปถสัปปายะ เป็นเครื่องมือการพัฒนาวัดสร้างสุขในสังคมดิจิทัล เพื่อปรับแก้ปัญหาใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านจิตภาพ ด้านพฤติภาพ และด้านปัญญาภาพ ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาวัดให้เป็นพื้นที่สร้างสุขแก่ทุกคน องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัย นี้คือ? TCH Model : LS+BMBW

References

กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2553). แนวทางการพัฒนาวัดสู่ความเป็นมาตรฐานกรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

ปิยะชาติ อิศรภักดี. (2559). BRANDING 4.0. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ฮาวทู อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัลลิชชิ่ง.

พระไพศาล วิสาโล. (2533). พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พระมหาสมถวิล ปภาโส (อิหนิม). (2561). การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในเขตกรุงเทพมหานคร ตามหลักสัปปายะ 7. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเสงี่ยม สุวโจ (มณีวงษ์). (2561). รูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวีระศักดิ์ ชยธมฺโม (สุวรรณวงศ์) (2557). แนวทางการจัดการวัดสันติสุขตามหลักสัปปายะ 7 : กรณีศึกษา วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2554). หลังสมัยใหม่นิยมและการอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อินทภาษ.

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30