การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทางสายกลางแห่งปฏิจจสมุปบาท

ผู้แต่ง

  • พิบูล ชัชวานิชย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เมธา หริมเทพาธิป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ปฏิจจสมุปบาท, ทางสายกลาง, การศึกษาเชิงวิเคราะห์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหา แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ทางสายกลางแห่งปฏิจจสมุปบาท ผลการวิจัยพบว่า ?ทางสายกลางแห่งปฏิจจสมุปบาท? นั้น ได้แก่ ความหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นใน 3 ลักษณะ ดังนี้ 1) ความหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิอันสุดโต่ง ได้แก่ การหลุดพ้นจากมิจฉาทิฏฐิ 2 ประการ คือ สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ 2) ความหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในสถานที่และเวลา ได้แก่ การหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) ในภพ (31 ภพภูมิ) ประการหนึ่ง และความยึดมั่นถือมั่นในสังขารที่ ปรุงแต่งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ประการหนึ่ง 3) ความหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ได้แก่ การหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ประการหนึ่ง กล่าวโดยสรุปได้ว่า ทางสายกลางแห่งปฏิจจสมุปบาท คือ องค์ความรู้ใหม่ที่ผู้เขียนได้สรุปขึ้นเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อวงการทางพุทธศาสนาหรือพุทธปรัชญา โดยสรุปแล้ว ทางทางสายกลางแห่งปฏิจจสมุปบาทก็คือ ทางแห่งการดับทุกข์โดยสิ้นเชิง เป็นทางแห่งความไม่ยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิอันสุดโต่ง หลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในสถานที่และเวลา และหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ในที่สุด

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2506). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬา เตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2556). บทความพิเศษ ปฏิจจสมุปบาท. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 20(1), 75-98.

บรรจบ บรรณรุจิ. (2555). ปฏิจจสมุปบาท : ขั้นตอนการรู้แจ้งความจริงของพระพุทธเจ้าและการปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาสังคม. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 37(3), 148-171.

พระมหาปรีชา รตนโชโต และพระครูพิศาลสารบัณฑิต. (2565). ปฏิจจสมุปบาทกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 1111-1128.

พระวิสัชนา วรปญฺโญ (พงษ์อาดิต). (2559). การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องอิทัปปัจจยตาในฐานะที่เป็นกฎของธรรมชาติ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 16(3), 191-202.

พระสาทิพย์ อนาลโย, พระปลัดสมชาย ปโยโค และพระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี. (2562). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับการบรรลุธรรม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(2), 225-236.

พิชัย สุขวุ่น. (2563). ปริทัศน์หนังสือ?ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์?. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 12(2), 255-273.

เสฐียร ทั่งทองมะดัน และพระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ. (2562). ศึกษาปฏิจจสมุปบาทในพุทธปรัชญาเถรวาทกับแนวคิดแบบธรรมชาตินิยม. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 3(1), 61-78.

ธนสิทธิ์ ฉัตรสุวรรณ. (2560). การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องภพในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 13(1), 1-11.

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29