การพัฒนาวิถีชีวิตชุมชน : บูรณาการหลักพุทธธรรมใช้ในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนชุมชนดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนาวิถีชีวิตชุมชน, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, หลักพุทธธรรม, ชุมชนดงฟ้าห่วนบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาวิถีชีวิตชุมชน: บูรณาการหลักพุทธธรรมใช้ในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนชุมชนดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาลักษณะสภาพปัญหาของประชาชนชุมชนดงฟ้าห่วนโดยทั่วไป เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่นำไปใช้ในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนชุมชนดงฟ้าห่วน และวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพปัญหาของประชาชนและการนำหลักพุทธธรรมไปใช้ในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชนดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามตัวแปรเพศ ได้แก่ เพศชาย และเพศหญิง จำนวน? 6,010 ??คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน? 362 คน ได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling)? เริ่มจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเกรจซี่ (Krejcie) และมอร์แกน (Morgan) จากนั้นนำไปเทียบสัดส่วนจากแต่ละกลุ่มตัวอย่างที่จำแนกตามตัวแปรที่ศึกษา หลังจากนั้นทำการแจกแบบสอบถามด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random) ตามจำนวนกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่ม แล้วเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพคือ การใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยประชากรได้มาโดยวิธีการเลือกแบบจงใจ (Purposive Sampling) จากผู้นำชุมชนในเขตชุมชนดงฟ้าห่วน จำนวน 19 คน
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจของประชาชนในเขตพื้นที่ประชาชนชุมชนดงฟ้าห่วนโดยทั่วไป พบว่า ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย บางส่วนมีหนี้สิน และค่าครองชีพสูง การนำหลักพุทธธรรมไปใช้ในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ประชาชนนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ พออยู่ พอกิน อยู่ในระดับน้อย ประชาชนควรดำเนินชีวิตด้วยการพึงพาตนเอง ประชาชนเห็นด้วยการนำหลักภาวนา 4 คือ กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา ปัญญาภาวนา ช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง? เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างเพศชายและเพศหญิงพบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ในเรื่องการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง? และการนำหลักพุทธธรรมไปปฏิบัติ อยู่ในระดับน้อยทุกด้าน
References
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). รุ่งอรุณของการศึกษาเบิกฟ้าแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : พิมพ์สวย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิยาลัย เล่มที่ 13 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 5 มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
_______. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิยาลัย เล่มที่ 21 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 13 อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
_______. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิยาลัย เล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บุญคง หันจางสิทธิ์. (2540). รายงานการสัมมนานโยบายย้ายถิ่นในประเทศไทย การสัมมนาข้อมูลที่จำเป็น. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
เยาวลักษณ์ ราชแพทยาคม. (2539). แรงงานกับการประกันสังคม : นัยยะที่มีต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2537). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (2535 ? 2537). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
_______. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.