การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมท้องถิ่น รายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่องฮีตสิบสอง ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • พระมหานิพิฐพนธ์ จิรวฑฺฒโน คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ส่งเสริมการอ่าน, พระพุทธศาสนา, ฮีตสิบสอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาการพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรมท้องถิ่น รายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง ฮีตสิบสอง ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 (2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลการเรียนจากหนังสือส่งเสริมการอ่าน (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน และ (5) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อฮีตสิบสอง กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียน 20 คน โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง สังกัดเทศบาลเมืองหนองคาย เป็นการวิจัยแบบพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หนังสือส่งเสริมการอ่าน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ และแบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน โดยการหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์ / ตามเกณฑ์ 80/80 การวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I) ของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ใช้วิธีของกู๊ดแมนและชไนเดอร์ และ Dependent Sample t-test

ผลการวิจัย พบว่า

1. คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนจากการประเมินระหว่างเรียนของนักเรียน ทั้ง 12 แผน มีค่าเท่ากับ 98.20 จากคะแนนเต็ม 120 คิดเป็นร้อยละ 81.83 และคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 32.05 จากคะแนนเต็ม 40 คิดเป็นร้อยละ 80.13 ดังนั้นการพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรมท้องถิ่น รายวิชา พระพุทธศาสนา เรื่อง ฮีตสิบสอง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.83/80.13 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80

2. ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) ของการเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชา พระพุทธศาสนา เรื่อง ฮีตสิบสอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.533724 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 53.37

3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมรายวิชาพระพุทธศาสนาเรื่องฮีตสิบสอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.44 หมายความว่า มีระดับความพึงพอใจ ในระดับมาก

5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน มีค่าเฉลี่ยเจตคติ เท่ากับ 4.43 หมายความว่า มีความชื่นชอบ ในระดับมาก

References

สมสนิท ไพศาล. (2548). การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะและหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2548

สุภาพรรณ์ ดวงคำน้อย. (2533). การสร้างและพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านในบทเรียน กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยที่ 3 เรื่อง สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา หน่วยย่อยที่ 1 เรื่อง จังหวัดของเรา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุภาพรรณ์ ดวงคำน้อย. (2537). การสร้างและพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านในบทเรียน กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยที่ 3 เรื่อง สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา หน่วยย่อยที่ 1 เรื่อง จังหวัดของเรา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุรวาท ทองบุ. (2550). การวิจัยทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

หทัย ตันหยง. (2529). การผลิตหนังสือสำหรับเด็ก. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ พิษณุโลก.

เอนก ศิลปะนิลมาลย์. (2542). บทเรียนสำเร็จรูปเขียนแผนการสอนให้เป็น. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม.

Doyle. Particia Ruth. (2548). Effect of Center, Sex, Role, Aggression, and Socioeconomic Status on Cartoon Humen Perception Male and Female Collage Student. Dissertation Abstracts International. 48 (110): 2548 ? A; April.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30