การพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษาอิงนิทานชาดกในวิชาพระพุทธศาสนาเรื่องเบญจศีลสำหรับนักเรียนประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา โรงเรียนวัดจันทรสโมสร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระมหาสมควร สุวณฺโณ (คุ้มสุวรรณ) นิสิตหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ชาพระพุทธศาสนา, ระบบการสอนสังคมศึกษา, เบญจศีล

บทคัดย่อ

????????? การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษาอิงนิทานชาดก ในวิชาพระพุทธศาสนา เรื่องเบญจศีล สำหรับนักเรียนประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาโรงเรียนวัดจันทรสโมสร? เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร? 2) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษา อิงนิทานชาดก ในวิชาพระพุทธศาสนา เรื่องเบญจศีล สำหรับนักเรียนประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาโรงเรียนวัดจันทรสโมสร? เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร? 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยระบบการสอนสังคมศึกษา อิงนิทานชาดก ในวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง เบญจศีลสำ หรับนักเรียนประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร? 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนประถมศึกษาที่มีต่อการสอนด้วยระบบการสอนสังคมศึกษา อิงนิทานชาดก ในวิชาพระพุทธศาสนา เรื่องเบญจศีล กรณีศึกษาโรงเรียนวัดจันทรสโมสร? เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร? การหาประสิทธิภาพและศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษา อิงนิทานชาดก ในวิชาพระพุทธศาสนา เรื่องเบญจศีล สำหรับนักเรียนประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยใช้นิทาชาดก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 155 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 คน โรงเรียนวัดจันทรสโมสร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565? เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษา อิงนิทานชาดก ในวิชาพระพุทธศาสนา เรื่องเบญจศีล สำหรับนักเรียนประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาโรงเรียนวัดจันทรสโมสร? เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยใช้นิทานชาดกในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังการใช้ระบบการสอนจากนิทานชาดก แผนการสอนที่ 1 ? 5 แบบวัดความพึงพอใจของระบบการสอนเรื่องเบญจศีล 5 ข้อ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและหาสถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

????????? ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษา อิงนิทานชาดก ในวิชาพระพุทธศาสนา เรื่องเบญจศีลสำหรับ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 กรุงเทพมหานคร โดยใช้นิทาชาดก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง? สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน 5 แผนการสอน ดังนี้? แผนการสอนที่ 1. ศีลข้อที่ 1 นิทานชาดกเรื่อง ปลาอานนท์ราชามหาสมุทร ใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง พบว่าระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 49.600 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 4.1 แผนการสอนที่ 2. ศีลข้อที่ 2 นิทานชาดกเรื่อง ดาบสจอมคดโกง ใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง ?พบว่าระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 49.63 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 3.87 แผนการสอนที่ 3. ศีลข้อที่ 3 นิทานชาดกเรื่อง มานพหนุ่มช่างทอง ใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง ?พบว่า มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 50 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 4 ?แผนการสอนที่ 4. ศีลข้อที่ 4 นิทานชาดกเรื่อง ปลาจอมผัดวันประกันพรุ่ง ใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง? พบว่ามีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 51 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 4.36 แผนการสอนที่ 5. ศีลข้อที่ 5 นิทานชาดกเรื่อง กำเนิดสุรา ใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง? รวม ?15 ชั่วโมง พบว่ามีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 51 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 4.36

References

ก. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources)

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิกฎฉบับภาษาบาลีมหาจุฬาเตปิฎกํ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ข. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources)

กรมวิชาการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นบ้าน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ค. ข้อมูลวิทยานิพนธ์

ทรงชัย สุบุญมี. (2546). ผลของวิธีสอนแบบเบญจขันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแบบแก้ปัญหาในโยนิโสมนสิการ เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขยายโอกาส อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ถ่ายเอกสาร.

พระวีระวัฒน์ รอดสุโข. (2545). สังคหวัตถุ 4 พรหมวิหาร 4 ไตรลักษณ์ 3 กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการสอนด้วยหนังสือการ์ตูนและการสอนตามปกติ.วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (บริหารการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระสมาน ปลั่งกลาง. (2547). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องพระเจ้าสิบชาติชาดก ด้วยหนังสือนิทานชาดกประกอบรูปภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การค้นคว้าอิสระ กศ.ม.(บริหารการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพรรณี ใจสุข. (2549). การพัฒนาชุดกิจกรรมในการเรียนเรื่องพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (บริหารการศึกษา).มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2543). คิดเป็นตามนัยแห่งพุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540สุมาลี กาญจนชาตรี. การพัฒนาการเรียนการสอนที่ส่งเสริมคุณลักษณะของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาในการสร้างความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิซึม? วิทยานิพนธ์ ค.ด. (หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุชิต จิตนุกุล. (2550). วิเคราะห์คุณธรรมจากนิทานชาดก ฉบับกรมวิชาการ. วิทยานิพนธ์ศษ.ม. (วิชาภาษาไทย).สงขลา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29