การเสริมสร้างความรับผิดชอบทางสังคมของนักศึกษาค้าประเวณีแอบแฝง

ผู้แต่ง

  • ปัทมา สารสุข คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การเสริมสร้าง, ความรับผิดชอบทางสังคม, นักศึกษาค้าประเวณีแอบแฝง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรับผิดชอบทางสังคมของนักศึกษาค้าประเวณีแอบแฝง ในการศึกษาครั้งนี้ได้จากการวิเคราะห์และทบทวนวรรณกรรมเพื่อนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบทางสังคมของนักศึกษาค้าประเวณีแอบแฝง โดยทำความเข้าใจถึงลักษณะการดำรงชีวิตและการเข้าสู่การค้าประเวณีแอบแฝงของนักศึกษา ซึ่งเป็นการขายบริการทางเพศรูปแบบหนึ่ง โดยกระทำการค้าประเวณีแอบแฝงในคราบนักศึกษาด้วยความสมัครใจ เพราะรายได้ที่หาได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้เวลานาน นอกจากนี้นักศึกษาบางคนมีการพัฒนาตนเองเป็นนายหน้าชักจูงเพื่อนหรือคนรู้จักเข้าสู่กระบวนการค้าประเวณีต่อไป แต่ในท้ายที่สุดแล้วนักศึกษาที่การค้าประเวณีแอบแฝงก็เห็นตรงกันว่าการค้าประเวณีเป็นการลดคุณค่าของตัวเองลงไป ไม่คุ้มค่าอะไร นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากการติดโรคและถูกทำร้ายจากผู้ใช้บริการอีกด้วย เพื่อนำผลที่ได้มาเป็นแนวทางในการเสริมสร้างความรับผิดชอบทางสังคมของนักศึกษาค้าประเวณีแอบแฝง

References

ปัทมา สารสุข. (2561). การสื่อสารภายในตนเองของนักศึกษาระดับอุดมศึกษากับการขายบริการทางเพศ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, นิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระธานี เขมธมฺโม (จำปา). (2550). ศึกษาสัมมาอาชีวะในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระมหาปัญญา ชยปญฺโญ (ดาบพลทหาร). (2536). กาเมสุมิจฉาจารกับปัญหาจริยธรรมในสังคมปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2520). ศีลธรรม กับมนุษยโลก. สุราษฎร์ธานี : ธรรมทานมูลนิธิ.

มนตรี สิระโรจนานันท์. (2556). สตรีในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มนัญชยา เหมทานนท์. (2560). ทัศนะของคนทำงานกลางคืนในสถานบริการประเภท 4 ต่อสาเหตุการค้าบริการทางเพศ. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สมภาร พรมทา. (2535). พุทธศาสนากับปัญหาจริยศาสตร์ : ทัศนะของพุทธศาสนาเกี่ยวกับปัญหาโสเภณี ทำแท้ง และการุณยฆาต. กรุงเทพฯ: พุทธชาด.

อานนท์ มาเม้า. (2557). การแบ่งแยกระหว่างรัฐกับศาสนจักร : มโนทัศน์ทางนิติปรัชญาและกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29