การพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พระพีระ กุสโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาชุมชน, หลักสังคหวัตถุ 4, สำนักงานเขตราชเทวี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร และ 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) โดยการใช้วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับประชากรกลุ่มตัวอย่างประชาชนสำนักงานเขต 398 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3.65 เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้านพบว่า การพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 อยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70 ตามลำดับ คือ ด้านสมานัตตตา ด้านอัตถจริยา ด้านปิยวาจา และด้านทาน 2) ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการพัฒนาชุมชนตามหลัก สังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร การพัฒนาชุมชนในด้านทาน การแบ่งกระจายประสานงานของเจ้าหน้าที่ และชุมชนมีมีการปฏิบัติต่อกันอย่างสม่ำเสมอ เพียงพอทำให้การประสานงานในการพัฒนาต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น การพัฒนาชุมชนในด้านปิยวาจา การให้ความรู้กับชุมชนอย่างมีประโยชน์แก่ประชาชนด้วยความจริงใจ ทำให้การประสานงานในการพัฒนาต่าง ๆ ภายในสำนักงานเขตราชเทวี เจ้าหน้าที่เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีการปฏิบัติต่อชุมชนได้อย่างดีเพียงพอ ทำให้การประสานงานต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น การบำเพ็ญประโยชน์แก่ประชาชนด้วยความเต็มใจ รวมทั้งข้อเสนอแนะ ข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจะได้รับการร้องขอหรือไม่ก็ตาม มีการปฏิบัติต่อประชาชนมากพอ ทำให้ไม่เป็นอุปสรรคในการรับรู้ข้อมูลของประชาชนในชุมชน การพัฒนาชุมชนในด้าน สมานัตตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย ไม่แบ่งแยกหรือเลือกที่รักมักที่ชัง ไม่ว่าจะเป็นในด้านการพัฒนาชุมชน หรือเรื่องส่วนตัว มีการปฏิบัติต่อชุมชนอย่างเสมอภาคโดยไม่เหลื่อมล้ำกัน การบิริหารจัดการงานในทุก ๆ ด้านมีความสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นในด้านการพัฒนาชุมชน

References

กรมการปกครอง, กองงานวิจัยและประเมินผล. (2533). เจ้าหน้าที่ปกครองสถานภาพบทบาทและพฤติกรรมในการให้บริการประชาชน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.

ธรรมธร ธงชัย. (2554). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการของศาลจังหวัดระยองตามหลักสังคหวัตถุ 4. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชันย์ ธงชัย. (2551). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการในการลงบัญชีทหารกองเกินตามแนวสังคหวัตถุ 4 ของหน่วยงานสัสดีอำเภอเมือง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วาสนา หนักเพ็ชร์. (2549). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการศาลแพ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต,สาขารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานเขตราชเทวี. (2556). หนังสือคู่มือประชาชน เขตราชเทวี. ข้อมูลของวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-25