บูรณาการความเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทด้วยมหากัมมวิภังสูตร
คำสำคัญ:
ความเชื่อ, กรรม, ผลของกรรมบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเรื่องกรรมและผลของกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาหลักกรรมในมหากัมมวิภังคสูตร 3) เพื่อศึกษาการบูรณาการความเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทด้วยมหากัมมวิภังคสูตร 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและการสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับ ?รูปแบบการบูรณาการความเชื่อเรื่องกรรม และผลของกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทด้วยมหากัมมวิภังคสูตร? งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นได้สัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนาและปรัชญาจำนวน ๙ รูป/คน เพื่อที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบบูรณาการความเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทด้วยมหากัมมวิภังคสูตร
ผลการวิจัย พบว่า 1. กรรมมีหน้าที่ มีลำดับ และมีระยะเวลาในการให้ผลที่ชัดเจนแก่บุคคลที่กระทำอกุศลกรรม หรือกุศลกรรมให้ได้รับทุกข์หรือสุขอย่างแน่นอน 2. หลักกรรมในมหากัมมวิภังคสูตรได้จำแนกกรรมและผลของกรรมโดยแสดงถึงบุคคล 4 ประเภท คือ 1) ทำชั่วแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก 2) ทำชั่วแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ 3) ทำดีแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ 4) ทำดีแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก 3. ความเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทที่นำมาบูรณาการด้วยมหากัมมวิภังคสูตรมีลักษณะ ดังนี้ 1) ผู้ทำชั่วแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกก็มี เพราะบุคคลพวกนี้ได้ทำกรรมชั่วต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน 2) ผู้ทำชั่วแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ก็มี เพราะบุคคลพวกนี้ทำกุศลกรรมไว้มากในชาติก่อน ๆ กุศลกรรมนั้นยังมีแรงให้ผลอยู่ ส่วนกรรมชั่วที่เขาทำใหม่ยังไม่ทันให้ผล 3) ผู้ทำดีแล้วได้เกิดในสุคติโลกสวรรค์ก็มี เพราะบุคคลพวกนี้ทำความดีติดต่อกันตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันกุศลกรรมนั้นส่งผล จึงทำให้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ 4) ผู้ทำดีแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกก็มี เพราะคนพวกนี้ได้ทำความชั่วไว้มากในชาติก่อน ๆ อกุศลกรรมนั้นยังมีแรงให้ผลอยู่ 4. องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับรูปแบบการบูรณาการความเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทด้วยมหากัมมวิภังคสูตร พบว่าการทำงานของกรรมและผลของกรรมมีหน้าที่มีลำดับและมีระยะเวลาในการให้ผลของกรรมแก่บุคคลที่กระทำอกุศลกรรมหรือกุศลกรรมให้ได้รับทุกข์หรือสุขอย่างแน่นอน ส่วนการนำมาบูรณาการด้วยมหากัมวิภังคสูตรเพื่อแสดงให้เห็นถึงภพภูมิที่บุคคลผู้รับผลของกรรมต้องไปรับผลของกรรมทั้งภพภูมิที่มีแต่ทุกขเวทนาและภพภูมิที่มีแต่สุขเวทนาตามเหตุตามปัจจัยการส่งผลของกรรมทั้งฝ่ายอกุศลกรรมและฝ่ายกุศลกรรมได้เข้าใจอย่างถูกต้อง จึงก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ คือ ?BUM Model? B คือ ความเชื่อในเรื่องกรรมและผลของกรรม U คือ ความรู้และเข้าใจเรื่องกรรมและผลของกรรม M คือ การกระทำที่ดี ทางแห่งการกระทำที่เป็นกุศลเพื่อความสุขความเจริญ
References
มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2536). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับครบรอบ 200 ปี แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ขุนสรรพกิจโกศล. (2534). ปริจเฉทที่ 5 วิถีมุตตสังคหวิภาค. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธีรโชติ เกิดแก้ว, ผู้ช่วยศาสตราจารย์. (2553). พุทธปรัชญา มิติการมองโลกและชีวิตตามความเป็นจริง. กรุงเทพมหานคร : บริษัท คอมเมอร์เชียล เวิลด์ มีเดีย จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัทธรรมิก.
พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร). (2541). กรรมทีปนีเล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : สามัคคีสาร (ดอกหญ้า).
พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร). (2545). กรรมทีปนี เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ (ดอกหญ้า).
พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2537). กฎแห่งกรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2555). หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด. กรุงเทพมหานคร : บริษัทขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์จำกัด.
วัชระ งามจิตรเจริญ. (2552). พุทธศาสนาเถรวาท. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัทโฟร์-วัน พริ้นติ้ง จำกัด.
สุนทร ณ รังสี. (2535). พุทธปรัชญาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนทร ณ รังสี. (2550). พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แสง จันทร์งาม, ศาสตราจารย์. (2550). กฎแห่งกรรม (กฎแห่งเหตุผลทางจิตวิญญาณในธรรมชาติ). เชียงใหม่: ธนุชพริ้นติ้ง.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2553). อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม. กรุงเทพมหานคร : หสน.วิบูลย์กิจการพิมพ์.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2529). สารานุกรมพระพุทธศาสนา. รวบรวมโดย สุเชาวน์ พลอยชุม. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2535). ธรรมวิภาค ปริเฉทที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 37. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
นัฏกร อาชะวะบูล. (2546). ศึกษาหลักกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ : เฉพาะกรณีเรื่อง ?เจ้ากรรมนายเวร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุจริต พรศิริประสาท. (2546). การศึกษาวิเคราะห์กฎแห่งกรรม : ศึกษาเฉพาะงานเขียนของ ท. เลียงพิบูลย์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ผจญ คำชูสังข์. (2548). บาป : ศึกษาเชิงวิเคราะห์ในมโนทัศน์ของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระมหาประคองศักดิ์ อคฺคปญฺโญ (ชั่งแสง). (2541). ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์กับกฎแห่งกรรมของชาวพุทธไทยในปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาพิเชษฐ์ ธีรวํโส (ดอกรัก). (2534). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องกรรมและสังสารวัฏในพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนไทยในปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหารังสรรค์ ธมฺมรโส (แสงสีสม). (2551). ความสัมพันธ์ของกรรมและการเกิดใหม่ที่มีอิทธิพลต่อการระลึกชาติ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอภิศักดิ์ วรญาโณ (รินไธสง). (2552). การศึกษาวิเคราะห์การให้ผลแห่งกรรมที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระวิพัฒน์ อตฺตเปโม (เอี่ยมเปรมจิต). (2553). การศึกษาวิเคราะห์หลักกรรมและการให้ผลของกรรมในอรรถกถาธรรมบท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอุทัย จิรธมฺโม (เอกสะพัง). (2534). ทัศนะเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทและปัญหาเรื่องกรรมในสังคมชาวพุทธไทยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระฤกษ์ดำรงค์ ปญฺญาธโร (จันทร์แสง). (2554). ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดและรูปแบบการนาเสนอเรื่องกฎแห่งกรรมที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ : เรื่องเย้ยฟ้าท้าดิน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฟื้น ดอกบัว. (2553). แนวความคิดเกี่ยวกับสังสารวัฏการเวียนว่ายตายเกิดในพระพุทธศาสนา. รายงานการวิจัย, กรุงเทพมหานคร : ศิลปาบรรณาคาร.