การศึกษาปรัชญาสุนทรียศาสตร์ที่ปรากฏในเทวศิลป์มหาเทวี ของศาสนาพราหมณ์ ? ฮินดู
คำสำคัญ:
สุนทรียศาสตร์, ภาพเทวศิลป์, ศาสนาพราหมณ์ ? ฮินดูบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเทวศิลป์ มหาเทวีของศาสนาพราหมณ์ ? ฮินดู 2) เพื่อศึกษาปรัชญาสุนทรียศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาปรัชญาสุนทรียศาสตร์ในเทวศิลป์มหาเทวีของศาสนาพราหมณ์ ? ฮินดู เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่า เทวศิลป์มหาเทวีของศาสนาพราหมณ์ ? ฮินดู ถือว่าเป็นศักติแห่งองค์มหาเทพ โดยกำเนิด และเทวลักษณะก็แตกต่างกันไปตามจารึกและวรรณกรรม ซึ่งภาพที่ปรากฏมีลักษณะเหมือนผู้หญิงทั่วไปทรงเครื่องอย่างนางกษัตริย์ ไปจนถึงมีหลายพัตรและหลายกร การศึกษาปรัชญาสุนทรียศาสตร์ เป็นการอธิบายศิลปะที่ปรากฏในเทวศิลป์มหาเทวีของศาสนาพราหมณ์ ? ฮินดู สามารถอธิบายได้ตามทฤษฎีการเลียนแบบ ทฤษฎีรูปทรงนิยมและทฤษฎีการแสดงออก เทวศิลป์มหาเทวีของศาสนาพราหมณ์ ? ฮินดูนี้แสดงให้เห็นถึงจินตนาการของศิลปิน รวมถึงความงามที่ปรากฏในผลงานที่แฝงไว้ด้วยความหมายเชิงปรัชญา คุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ที่ปรากฏนี้สอดคล้องกับทฤษฎีสัมพัทธนิยมที่ขึ้นอยู่กับผู้ประเมินเป็นหลัก โดยผู้ชมสามารถมีประสบการณ์สุนทรียะโดยตรงจากการชมเทวศิลป์มหาเทวีของศาสนาพราหมณ์ ? ฮินดู
References
กีรติ บุญเจือ. (2521). ปรัชญาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
กีรติ บุญเจือ. (2522). ปรัชญาศิลปะ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
เดือนรุ่งฟ้า เพ็ญไพสิฐ. (2553). การศึกษาวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ในผลงานจิตรกรรมของอาจารย์ทวี นันทขว้าง. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (ปรัชญา), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรรณพรรธน์ เรืองทรัพย์. (2547). การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมและประติมานวิทยาที่เทวสถานพระศรีอุมาเทวี (วัดแขก สีลม). สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี), มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิริยา ประสพธนกิจ. (2538). ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มบุคคลที่เข้ามาสักการะบูชาที่วัดแขก (สีลม) และโบสถ์พราหมณ์ (เสาชิงช้า). สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (มานุษยวิทยา), มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สนั่น ไชยานุกูล. (2533). ฮินดูและซิกข์ในสังคมไทย. ใน ความเชื่อและศาสนาในสังคมไทย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.