ศึกษาวิเคราะห์เรื่องโลกในพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระบิจิต เขมสกฺโก (ศากยะ) นักวิชาการอิสระ ด้านพุทธศาสนาและปรัชญา

คำสำคัญ:

โลก, พุทธปรัชญาเถรวาท, แนวคิด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องโลกในปรัชญาตะวันออก 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องโลกในพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเรื่องโลกในพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยทางเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปรัชญาตะวันออก โดยเฉพาะปรัชญาอินเดียมีแนวคิดเรื่องโลกซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ (1) คัมภีร์พระเวท ในแง่ที่เป็นเทพนิยายเชื่อว่าโลกและสรรพสิ่งเป็นผลิตผลจากเทพเจ้า และธรรมชาติทุกสิ่งถูกควมคุมโดยเทพเจ้า และในแง่ที่เป็นปรัชญาในแง่นี้เชื่อว่า สารัตถะที่แท้จริงมีเพียงหนึ่งเท่านั้น คือ สัตนั้นเอง (2) ปรัชญานยายะ มีทัศนะว่า โลกมีอยู่จริงเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงโดยตัวเองประกอบด้วยปรมาณูเหลือคณา ส่วน กาละและเทศะเป็นความเชิงปรวิสัยมีอย่างกว้าง ๆ ไม่ขึ้นกับใคร (3) ปรัชญาไวเศษิกะ เชื่อว่าโลกและสิ่งต่าง ๆ ในโลกประกอบขึ้นด้วยปรมาณูของธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม (4) ปรัชญาสางขยะ มีทัศนะว่าประกฤติเป็นมูลเหตุของโลกและเป็นมูลเหตุให้เกิดสิ่งต่าง ๆ (5) ปรัชญาโยคะ มีทัศนะว่า สัมปโยคะหรือการรวมตัวของประกฤติกับปุรุษะนั้นเป็นจุดเริ่มแรกแห่งการวิวัฒนาการของโลกและสิ่งต่าง ๆ (6) ปรัชญามีมางสาเชื่อว่าพระเจ้ามิใช่เป็นผู้สร้างและผู้ทำลายโลก แต่เชื่อว่าโลกมีแนวเป็นมาแล้วอย่างที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ สิ่งต่าง ๆ ในโลกก่อรูปขึ้นมาจากสสาร (7) ปรัชญาเวทานตะ เชื่อว่าโลกเป็นเพียงปรากฏการณ์ของสิ่งสมบูรณ์ คือ พรหมัน ไม่เคยถูกสร้างขึ้นมาจริง และ (8) ปรัชญาอุปนิษัท ถือว่าพรหมันเป็นมูลการณะของสรรพสิ่งจึงได้วิวัฒนาการมาเป็นโลกและสรรพสิ่งในโลก 2) โลกตามทัศนะของพุทธปรัชญาเถรวาท มิได้มีความหมายแต่เพียงโลกอันที่เป็นอยู่อาศัยของมนุษย์และสรรพสิ่งที่มีชีวิตในโลกนี้เท่านั้นยังหมายรวมไปถึงภพภูมิอื่นที่เราไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสที่มนุษย์มีอยู่ได้ ซึ่งครอบคลุมถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม สำหรับแนวคิดมูลเหตุการเกิดขึ้นของโลกนั้นมีการเกิดขึ้นมีการถูกทำลายมีการรวมตัวกัน และสลายตัววนเวียนกันไปตามกฎธรรมชาติ แต่จะเน้นที่ตัวมนุษย์มากกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น 3) วิเคราะห์แนวคิดเรื่องโลกในพุทธปรัชญา แบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ 1) แนวคิดเรื่องโลกในเชิงภูมิศาสตร์ มี 3 ประเภท ได้แก่ มนุษโลก เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ เทวโลก เป็นที่อยู่อาศัยของเทวดาและพรหมโลก เป็นโลกที่อยู่อาศัยของพรม 2) แนวคิดเรื่องโลกในเชิงจริยศาสตร์ มี 3 ประเภท ได้แก่ กามโลก เป็นโลกของหมู่สัตว์ผู้เกี่ยวข้องอยู่ในกาม รูปโลก เป็นโลกที่อยู่อาศยของสัตว์ผู้เข้าถึงรูปฌาน และอรูปโลก เป็นโลกที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน 3) แนวคิดเรื่องโลกตามทัศนะของพระพุทธโฆษาจารย์มี 3 ประเภท ได้แก่ โอกาสโลก เป็นโลกที่เป็นแผ่นดิน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต สัตวโลก เป็นโลกที่อยู่ของหมู่สัตว์ ซึ่งได้แก่สัตว์ในภูมิต่างๆ และรวมถึงสัตว์สิ่งที่มีชีวิตวิญญาณทั้งหมดและสังขารโลก หมายถึง โลก คือ สังขารของสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตรวมไปถึงการปรุงแต่งทางอารมณ์ด้วย

References

ชัยวัฒน์ คุประตกุล. (2544). 100 ปีดาราศาสตร์โลก. กรุงเทพมหานคร : ประพันธ์สาร์น.

ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี. (2560). ต้นกำเนิดของโลกและจักรวาล : ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก. 3 ตุลาคม 2560, <https://www.gotoknow.org/posts/512383> (3 October 2017).

นางสาวเดือนฉาย อรุณกิจ. (2538). การศึกษาเชิงวิเคราะห์มโนทัศน์เรื่องโลกในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรจบ บรรณรุจิ. (2557). โอปปาติกะชีวิตหลังความตาย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์ธรรมะ.

ปรุตม์ บุญศรีตัน. (2556). พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์ และสังสารวัฏ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี และคณะ. (2547). ธรรมชาติของสรรพสิ่งการเข้าถึงความจริงทั้งหมด. กรุงเทพมหานคร : ร่วมด้วยช่วยกัน.

ประสาน ต่างใจ. (2539). เอกภพของชีวิตกับจักรวาล. กรุงเทพมหานคร : กรีนพีช.

พระพรหมคุณาภรณ์. (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2536). ดับไม่เหลือ. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพมุนี (วิลาศ ญาณวโร). (2527). กรรมทีปนี. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุภา.

พระเทพมุนี (วิลาศ ญาณวโร). (2527). ภูมิวิลาสินี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.

พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2537). รรณนาสวรรค์. กรุงเทพมหานคร : สุทธิสารการพิมพ์.

พระเทพมุนี (วิลาศ ญาณวโร). (2542). พรรณนาสวรรค์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระบาฬีลิปิกรม. (2532). พระบาฬีลิปิกรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระพานิช ญาณชีโว. (2539). ไตรภูมิพระร่วง (ฉบับย่อความ). กรุงเทพมหานคร : ตรงหัว.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2551). ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา วีถิมุตตสังคหะภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ ปริจเฉทที่ 5 เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : หจก.ทิพยวิสุทธิ์.

พระพลวัต ฉนฺทกาโม (แก้วศรีใส). (2556). การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องโลกและชีวิตของวิทยาศาสตร์กับพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระภูวเดช สินทับศาล. (2551). การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องโลกและจักรวาลในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พูนศักดิ์ ศักดานุวัฒน์. (2532). นรกสวรรค์และเปรต. กรุงเทพมหานคร : รุ่งแสงการพิมพ์.

ฟื้น ดอกบัว. (2527). ปรัชญาอินเดีย. นครปฐม : พิมพ์ที่ แผนกบริการกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มหามกุฏราชวิทยาลัย, มูลนิธิ. (2536). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับครบรอบ 200 ปี แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ระวี ภาวิไล, ศ. (2543). โลกทัศน์ ชีวทัศน์เปรียบเทียบวิทยาศาสตร์กับพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2549). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2536). ธรรมวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สรกานต์ ศรีตองอ่อน, ผศ.ดร. (2558) .พุทธจักรวาล. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

สุนทร ณ รังษี. (2521). ปรัชญาอินเดีย ประวัติและลัทธิ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บพิธ.

สุนทร ณ รังษี. (2550). พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุบการวิจัย (สกว.). (2560). ปรัชญาอินเดีย (Indian philosophy). 30 ตุลาคม 2560,

<http://www.parst.or.th/philospedia/IndianPhilosophy.html> (30 October 2017).

อมรา ศรีสุชาติ. (2541). อุปนิษัทอภิปรัชญาที่สอดคล้องกับทฤษฎีวิทยาศาสตร์เรื่องกำเนิดและการสิ้นสุดของจักรวาลโลกสรรพสิ่งและชีวิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Chandradhar Sharma. (1973). A Critical Survey of Indian Philosophy. New Delhi: Motilai Banaraidass.

Deussen. (1972). The Philosoohy of the Upanishads. Vol. II. Delhi : Oriental Publishers.

Popular Mechanics. (2560). นาซ่าเจอโลกใหม่. 20 มีนาคม 2560, <https://www.beartai.com/news/sci-news/152413>.

Surendranath Dasgupta. 1969A History of Indian Philosophy. Vol. 1. Great Britain : Cambridge University Press.

Stephen Hawking. (2556). ประวัติย่อของกาลเวลา ฉบับภาพประกอบ (The Illustrated A Brief History of Time). แปลโดย ดร.ปิยบุตร บุรีคำ และ ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูมิ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-23