ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทด้านการปกครองของเจ้าอาวาสในตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
เจ้าอาวาส, คิดเห็น, บรรพชิตและคฤหัสถ์บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ที่มีต่อบทบาทด้านการปกครองของเจ้าอาวาส 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชนที่มีต่อบทบาทด้านการปกครองของเจ้าอาวาสในตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาความคิดเห็นของประชาชนในตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ที่มีต่อบทบาทด้านการปกครองของเจ้าอาวาสนครปฐม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่อยู่อาศัยในตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 393 ซึ่งได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) และใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้คือ สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) หากพบความแตกต่างจะทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ แล้วนำมาวิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัย พบว่า 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อบทบาทด้านการปกครองของเจ้าอาวาสในตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับเห็นด้วยอ่างยิ่ง มีค่าเฉลี่ย 4.29 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า มีรายละเอียดคือ ด้านการบำรุงรักษาวัดจัดกิจการและศาสนสมบัติ อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าเฉลี่ย 4.22 ด้านการปกครองบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่อาศัยอยู่ในวัด อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าเฉลี่ย 4.31 ด้านการเป็นธุระในการศึกษาธรรมและวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าเฉลี่ย 4.35 ด้านการให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าเฉลี่ย 4.30 2. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ต่างกันมีความคิดเห็นที่มีต่อบทบทบาทด้านการปกครองของเจ้าอาวาสในตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ประชาชนที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อบทบทบาทด้านการปกครองของเจ้าอาวาสในตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 4 ด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านเพศกับ ด้านการบำรุงรักษาวัดจัดกิจการและศาสนสมบัติ และด้านการให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล ไม่แตกต่างกัน 3. ประชาชนได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่สำคัญคือ 1) ด้านการบำรุงรักษาวัดจัดกิจการและศาสนสมบัติ วัดยังขาดการประชุมวางแผนที่ดีในการระดมความคิดเพื่อดำเนินงานบริหารกิจการของวัด จึงควรหาโอกาสในการประชุมวางแผนระดมความคิดเห็นในงานบริหารกิจการของวัดให้มากขึ้น 2) ด้านการปกครองบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่อาศัยอยู่ในวัด พระภิกษุสามเณรและผู้ที่อาศัยอยู่ในวัดยังไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่งที่ประกาศใช้ในวัด จึงควรประชาสัมพันธ์ กฎ ระเบียบ คำสั่งข้อปฏิบัติให้มีความชัดเจน และติดป้ายประกาศเป็นลายลักษณ์อักษร 3) ด้านการเป็นธุระในการศึกษาธรรมและวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ การจัดให้มีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมบรรพชิตและคฤหัสถ์ได้ศึกษาเล่าเรียน ทั้งแผนกบาลีและแผนกธรรม (รวมถึงธรรมศึกษาด้วย) หรือเฉพาะแผนกใดแผนกหนึ่ง ซึ่งยึดแบบแผนตามจารีตประเพณีโดยปฏิบัติสืบมาโดยตรง ได้แก่การจัดสำนักศาสนศึกษาแผนกบาลีและแผนกธรรม หรือการให้พระภิกษุสามเณรไปเรียนที่วัดใกล้เคียงซึ่งมีสำนักศาสนศึกษาดังกล่าวและการอบรมสั่งสอนพระธรรมวินัย จึงควรจัดให้มีการอบรมสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตตามวิธีที่กำหนดในคำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่องให้ภิกษุสามเณรเรียนพระธรรมวินัย พ.ศ. 2528 และการจัดให้มีการอบรมสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ในรูปแบบอื่น ๆ รวมถึงการฝึกอบรมระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์ เช่น การทำกิจวัตรประจำวัน การฝึกซ้อมสวดมนต์ ฝึกซ้อมสังฆกรรมและวิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนฝึกอบรมการปฏิบัติศาสนกิจของคฤหัสถ์ เช่น การทำวัตรสวดมนต์ประจำวันพระ การสมาทานอุโบสถศีล และปฏิบัติศาสนพิธีอื่น ๆ และ 4) ด้านการให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล ประชาชนยังนำอบายมุขเช่น สุรา และการพนันเข้ามาในงานบำเพ็ญกุศลยังมีให้เห็นในบางงาน จึงควรควรหาวิธีการและประสานงานกับผู้นำท้องถิ่นเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
References
กระทรวงมหาดไทย. (2542). ประกาศเรื่องจัดตั้งสุขาภิบาลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ราชกิจจานุเบกษา 98 (ฉบับที่ 90 ง) : 1728-1730. 9 มิถุนายน 2542.<http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2524/D/090/1728.PDF> (10 November 2011)
ชุติมา ชัยมุสิก. (2550). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสังคมไทยที่มีผลกระทบต่อการเกิดปัญหาอาชญากรรม. หลักสูตรผู้กำกับการ รุ่นที่ 57. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.
พระราชวิสุทธิภัทรธาดา. (2547). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 5, 20. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์. (2543). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สุรีริยาสาส์น.
เรืองศักดิ์ บุญโนนแต้. (2538). ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการส่งเสริมการปลูกมะเขือเทศลูกผสมเพื่อผลิตเมล็ดพันธ์แบบตลาดข้อตกลงจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิเชียร ปรีชาธรรมวงศ์. (2550). การแก้ไขปัญหาเยาวชนกระทำผิดด้วยการประชุมกลุ่มครอบครัว. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุพัตรา สุภาพ. (2515). ปัญหาสังคม. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพาณิช.