ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • พระตันโจ ฉนฺทสุโภ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล, องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ของประชาชนที่มี อายุและการศึกษาต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือน หรือตัวแทนหัวหน้าครัวเรือนที่อยู่ภายในเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวน 351 ครัวเรือน แบ่งประชากรออกเป็นแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) และใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และ 2) สถิติเชิงอนุมานหรืออ้างอิง คือ การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) หรือ F-test หากทดสอบแล้วพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะทำการวิเคราะห์ต่อโดยวิธีหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheff?) วิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์

ผลการวิจัย พบว่า 1) ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการจัดการขยะอย่างเสมอภาค รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดการขยะได้อย่างเพียงพอ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการจัดการขยะได้อย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานของการวิจัยโดยเปรียบเทียบความแตกต่าง ผลการเปรียบเทียบพบว่า ประชาชนที่มีอายุต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยรวมไม่แตกต่างกัน ในส่วนประชาชนที่มีการศึกษาต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล แยกเป็นรายด้านดังนี้ 1) ด้านการจัดการขยะได้อย่างเพียงพอ ความถี่สูงสุด ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมควรเพิ่มภาชนะรองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้มากขึ้น 2) ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ความถี่สูงสุด ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมควรเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอย่างต่อเนื่องไม่เหลือตกค้าง 3) ด้านการจัดการขยะอย่างเสมอภาค ความถี่สูงสุด ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมควรให้บริการจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ทั่วถึงทุก ๆ หมู่บ้าน

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2545). เอกสารเผยแพร่.กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, (อัดสำเนา).

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาสถิติคณะพาณิชยศาสตร์และบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกรียงศักดิ์ อุดมสินโรจน์. (2537). การจัดการเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : มิตรนราการการพิมพ์.

ชลัช จงสืบพันธ์. (2546). การบริหารท้องถิ่น. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชาคร คัยนันทน์. (2547). การจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. ค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัญฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2538). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

ธนาพร พนาคุปต์. (2538). พฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือนของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองจังหวังปัตตานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัญฑิต, บัญฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธีระศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2549). เครื่องมือวิจัยทางการศึกษา : การสร้างและการพัฒนา. นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นรินทร์ แจ่มจำรัส. (2549). การพัฒนาองค์การ.กรุงเทพมหานคร : ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์.

นิภา เมธธาวีชัย. (2543). วิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏธนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ประชา คงศรีเจริญ. (2548). การจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, บัญฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ประพันธ์ ชูพิพัฒน์. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดเก็บขยะขององค์การบริการส่วนตำบล:ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลนาอาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. สารนิพนธ์ศาสนศาตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ปฤษฐา พฤฒิวิชญ์. (2547). ความคิดเห็นของคนในชุมชนในการจำแนกประเภทขยะมูลฝอยที่ใช้ในชีวิตประจำวันก่อนทิ้งเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัญฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

พนารัตน์ พ่วงบุญปลูก. (2541). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริการจัดเก็บขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลแสนสุข จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัญฑิต, บัญฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

พรทิพย์ รัตนพิสิษฐ์กุล. (2550). การศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. ค้นคว้าแบบอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พัฒน์ สุจำนง. (2524). การพัฒนาชนบทแบบผสมผสานสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

มนธิรา ชวลิตนิธิกุล. (2549). ความความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดเก็บขยะของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัญฑิต, บัญฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยงยุทธ เพิ่มสุข. (2541). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริการจัดเก็บขยะมูลฝอย:กรณีศึกษาเทศบาลเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัญฑิต, บัญฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รัตนศักดิ์ ยี่สารพัฒน์. (2551). การศึกษาความพึงพอใจของครัวเรือนต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสารคราม.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2550). พฤติกรรมองค์การ.กรุงเทพมหานคร : บริษัทวิสิทธิพัฒนาจำกัด.

สมยศ นาวีการ. (2521). การพัฒนาองค์การและการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร : กรุงสยามการพิมพ์.

สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม. (2552). รายงานกิจการประจำปี 2550. กำแพงเพชร : องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม, (อัดสำเนา).

สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม. (2553). ข้อมูลพื้นฐานองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม, (อัดสำเนา).

สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม. (2553). รายงานโครงการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเรื่องการลดปริมาณขยะในเขตอ.บ.ต.นครชุม. กำแพงเพชร : องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม, (อัดสำเนา).

สำนักงานอำเภอเมืองกำแพงเพชร. (2553). ข้อมูลสถิติงานทะเบียนราษฎร์อำเภอเมืองกำแพงเพชร ณ เดือนกันยายน. กำแพงเพชร : สำนักงานอำเภอเมืองกำแพงเพชร, (อัดสำเนา).

สุโขทัยธรรมาธิราช. (2553). องค์การและการจัดการ.นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548.เกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สุวิมล ภักดิ์พิบูลย์. (2535). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของแม่บ้านในเขตกรุงเทพมหานครที่มีผลต่อการกำจัดขยะมูลฝอย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัญฑิต, บัญฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุเวช ชนะสุข. (2547). การศึกษาการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:ศึกษากรณีเฉพาะการจัดเก็บมูลฝอย เทศบาลตำบลพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. ค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัญฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เสนาะ ติเยาว์. (2544). หลักการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อินทิรา ไทยศรี. (2553). การจัดการขยะในครัวเรือนของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางเลน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัญฑิต, บัญฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-23