บทบาทของวิทยุชุมชนที่มีต่อการเผยแผ่หลักธรรมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พรประทาน ชูโต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • กฤตสุชิน พลเสน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วิทยุชุมชน, การเผยแผ่, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของวิทยุชุมชน 2) เพื่อศึกษาการเผยแผ่หลักธรรมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของวิทยุชุมชนที่มีต่อการเผยแผ่หลักธรรมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการวิจัยพบว่า วิทยุชุมชน มีบทบาทคือ 1. บทบาทนำเสนอข้อมูลข่าวสาร  2. บทบาทในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบ่งปัน 3. บทบาทในการสะท้อนปัญหา 4. บทบาทความมั่นคง ความรักความสามัคคีในชาติ 5. บทบาทด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น สำนึกรักบ้านเกิด 6. บทบาทด้านพัฒนาประเทศ 7. บทบาทด้านการเผยแผ่ศาสนา 8. บทบาทด้านการศึกษา 9. บทบาทด้านความบันเทิง หลักธรรมที่เป็นแนวทางการเผยแผ่คือ1.องค์แห่งธรรมกถึก ธรรมที่ผู้แสดงธรรมหรือสั่งสอนคนอื่นควรตั้งไว้ในใจ 2. เทศนาวิธีลีลาการสอน ชี้ให้ชัด ชวนให้ปฏิบัติ เร้าให้กล้า ปลุกให้ร่าเริง หลักธรรมที่เหมาะในการเผยแผ่ 1.ไตรสิกขาการฝึกหัดอบรมกายวาจาใจและปัญญาให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ  พระนิพพาน 2.อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ 3.อนุปุพพิกถา 5 เรื่องที่กล่าวถึงตามลำดับ, ธรรมเทศนาที่แสดงเนื้อความลุ่มลึกลงไปโดยลำดับเพื่อขัดเกลาอัธยาศัยของผู้ฟังให้ประณีตขึ้นไปเป็นชั้นๆ จนพร้อมที่จะทำความเข้าใจในธรรมส่วนปรมัตถ์ วิเคราะห์บทบาทของวิทยุชุมชนที่มีต่อการเผยแผ่ มีดังนี้ 1. บทบาทความสำคัญของวิทยุชุมชนต่อการเผยแผ่ 2.บทบาทวิธีการเสนอข้อมูลการเผยแผ่ 3.บทบาทการเผยแผ่สู่กลุ่มเป้าหมาย  4. บทบาทการเลือกคุณสมบัติของผู้จัดรายการเพื่อการเผยแผ่ 5. หลักธรรมที่ใช้ในการเผยแผ่

References

กุลกนิษฐ์ ทองเงา. (2556). ลักษณะของวิทยุกระจายเสียง. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

แก้ว ชิดตะขบ. (2553). ประวัติความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

คูณ โทขัน. (2545). พุทธศาสนากับสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์โอนเดียนสโตร์.

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2559). พุทธวิธีการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พระนครศรีอยุธยา: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. (2540). ทิศทางวิทยุ-โทรทัศน์กับรัฐธรรมนูญ 2540. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมสาสตร์.

นภาภรณ์ อัจฉริยะกุลและอมรมาศ คงธรรม. (2545). ความหมายและความสำคัญของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ในเอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยุและโทรทัศน์, หน่วยที่ 1. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จีรวรรณ โสภัณ. (2562). ศึกษาวิเคราะห์หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระโสภณวิสุทธิคุณ (บุญเพ็ง กปฺปโก). วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระณปวร โทวาท. (2560). ต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัดในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

พระมหาทองศรี เอกวํโส ดร. และคณะ. (2552). การสำรวจความคดิเห็นของประชาชนเกี่ยวกบัการฟังวิทยุชุมชนในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา : กรณีศึกษา สถานีวิทยุวัดสามพรานวัดนายโรงและวัดชลประทานรังสฤษฎ์. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114/ตอนที่ 55 ก/หน้า 9/11 ตุลาคม 2540.

กาญจนา แก้วเทพ.?คู่มือวิทยุชุมชน (FNS)?. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2562 จาก<http://www.thaibja.org/?p=1956>.

กระจอกข่าว.?การใช้สื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ รวมพลคนพีอาร์ จุดนัดพบคนทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข?. 11 มิถุนายน 2551, สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2562 จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/khonpr/2008/07/27/entry-1.

ครูบ้านนอกดอทคอม. ?อริยสัจ 4?. 19 กันยายน 2551, สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2562 จาก .

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-26