ปรัชญาสังคมการเมืองของฌอง ฌาค รุสโซ
คำสำคัญ:
ฌอง ฌาค รุสโซ, ปรัชญาสังคมการเมือง, ชีวประวัติบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาชีวประวัติของฌอง ฌาค รุสโซ โดยสังเขป 2. เพื่อศึกษาแนวคิดปรัชญาทางสังคมการเมืองของฌอง ฌาค รุสโซ 3. เพื่อวิเคราะห์แนวคิดปรัชญาทางสังคมการเมืองของฌอง ฌาค รุสโซ ผลการวิจัยพบว่า รุสโซ เป็นผู้ที่มีบทบาทหลากหลายทั้งนักปรัชญา นักเขียนนิยาย นักการศึกษานักทฤษฎีดนตรีและวิจารณ์ดนตรี ตลอดจนนักประพันธ์เพลง และเป็นผู้ผลิตความคิดอันเป็นอิทธิพลทางปัญญาสำคัญในการปฏิวัติครั้งใหญ่ของฝรั่งเศส (French Revolution) ค.ศ. 1789 จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1767 รุสโซใช้เวลาส่วนใหญ่ของบั้นปลายชีวิตอยู่กับการเขียนหนังสือในขณะที่พักอยู่ในปารีส และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1778 ในวัย 66 ปี ด้วยแนวคิดสำคัญของเขาที่มุ่งเน้นว่าการที่มนุษย์ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นประชาชนในสังคมอย่างยินยอมจนมีสัญญาและผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างประชาชนกับสังคมจึงเกิดการกำหนดสิทธิและหน้าที่ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า สัญญาประชาคม (Social Contract) เพื่อสร้างประชาคมการเมืองขึ้น ผู้ทรงอำนาจอธิปไตยของประชาชนที่ประชุมร่วมกันในฐานะผู้ทรงอำนาจอธิปไตย เพื่อทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย ประชาชนทำหน้าที่เป็นพลเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เจตจำนงทั่วไป คือ ประชาชนต้องบัญญัติกฎหมายให้ตอบสนอง และเลือกผู้แทนราษฎร รุสโซ เห็นว่า การเลือกผู้แทนราษฎร คือจุดเริ่มต้นของอวสานแห่งเสรีภาพของเสรีชน รุสโซ จึงมองว่า ประชาชนไม่ควรมอบอำนาจอธิปไตยให้แก่ใครทั้งสิ้น แนวคิดรุสโซนั้น จึงเป็นแนวคิดการปกครองแบบตรงที่ประชาชนปกครองประเทศโดยตรง แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีประชากรเป็นจำนวนมาก และในโลกปัจจุบันเป็นประชาธิปไตย โดยตัวแทนทั้งหมด แม้ว่าแนวคิดปรัชญาทางสังคมการเมืองของ รุสโซ มองว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับเสรีภาพ ถ้าไม่มีสรีภาพก็ไม่ใช่มนุษย์ก็ตาม
References
เดือน คำดี. (2526). ปรัชญาตะวันตกสมันใหม่. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ทินพันธ์ นาคะตะ. (2541). นักคิดผู้ยิ่งใหญ่ของโลก : ปรัชญาการเมือง. กรุงเทพฯ: สหายบล็อก.
ภัทรษมน รัตนางกูร. แนวคิดของ ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) กับบางเสี้ยวแห่งวิกฤตการเมืองไทย. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565, จาก http://phatrsa.blogspot.com /2010/03/jean-jacques-rousseau.html.
ศุภชัย ศุภผล. (2552). อิทธิพลทางทฤษฎีการเมืองของฌอง มากส์ รุสโช ต่อการปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศษ ค.ศ. 1789. วารสารสังคมศาสตร์. 40(2) กรกฎาคม-ธันวาคม หน้า 159-188.
สุกิจ ชัยมุสิก, ผศ.ดร. (2554). ทฤษฎีการเมืองและจริยศาสตร์. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย.
เสถียร หอมขจร, รศ. และคณะ. (2528). ทฤษฎีการเมืองและจริยธรรม 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อชิตพนธิ์ เพียรสุขประเสริฐ. ฌอง ฌากส์ รุสโซ : ตัวบทต้นธารคนสำคัญแห่งประชาธิปไตย. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565, จาก https://www.sarakadeelite.com/faces/jean-jacques-rousseau/.
J.J. Rousseau (Translate by G.D.H. Cole). (1993). The Social contract and Discourses. London: Everyman.