ความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการทางการศึกษาของนักเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีศาสนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • พระสมบูรณ์ กฺวิวํโส บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การให้บริการทางการศึกษา, โรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีศาสนวิทยา, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการให้บริการทางการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีศาสนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจการให้บริการทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีศาสนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตาม อายุ ชั้นเรียน เกรดเฉลี่ย และ 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะ ปัญหาและอุปสรรคการให้บริการทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีศาสนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ประชากร ประกอบด้วยนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีศาสนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 380 รูป กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีศาสนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 191 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความพึงพอใจต่อการให้บริการทางการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม ศรีศาสนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการให้บริการทางการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม ศรีศาสนวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พบว่านักเรียนมีอายุ ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการทางการศึกษาโดยรวมทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนนักเรียนมี ระดับชั้น และเกรดเฉลี่ยต่างกันพบว่ามีความพึงพอใจต่อการให้บริการทางการศึกษาโดยรวมทั้ง 4 ด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการให้บริการทางการศึกษาของนักเรียน ได้แก่ โรงเรียนควรมีการปรับปรุงระบบการบริการ การสร้างความพึงพอใจ และปรับปรุงระบบกานแบ่งงานให้ชัดเจนตามหน้าที่

References

กนก ใบบัว. (2544). การบริการสังคมของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นสำคัญระดับประถมศึกษา ม.ท.ป. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน.

ก่อ สวัสดิพานิชย์. (2537). เอกสารการสอนชุดวิชาไทยศึกษา. หน่วยที่ 14. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กาญจน์ เรืองมนตรี. (2543). เอกสารประกอบการบรรยายในชั้นเรียน. มหาสารคาม : ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

กิตติมา ปรีดีดิลก. (2520). ปรัชญาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ประเสริฐการพิมพ์.

กิตติมา ปรีดีดิลก. (2529). ทฤษฎีการบริหารองค์การ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธนะการพิมพ์.

กุหลาบ ปั้นลายนาค. (2548). การปฎิบัติงานในห้องสมุดโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ครั้งที่ 3. สุวีริยา-สาส์น.

คณาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะวิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา. (2532). การศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เจริญผล.

จงจิน สุขสิงห์. (2547). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนเอกชนระดับปฐมวัย จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยา สถาบันราชภัฏสารคาม.

จรัส โพธิ์จันทร์. (2543). ความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์วิทยาลัยพลศึกษาในภาคเหนือ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก.

จิตรกร คำผล. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดเฉพาะกิจปราบปรามยาเสพติดให้โทษของสถานีตำรวจภูธรในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เฉลิม ฉวิวงศ์. (2543). การศึกษาความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนและสภาพการปฎิบัติจริงต่อการวัดต่อระดับก่อนประถมศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

ชาญชัย ราชโคตร. (2545). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริการของสำนักงานทะเบียนอำเภอ กระนวน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ฐิติภัทร ประสิทธิพร. (2545). ครูดีที่หนึ่งในโลก. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2542). พฤติกรรมมนุษย์ในองค์กร. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ถนอม มากะจันทร์. (2546). ทฤษฎีการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.

ประสงค์ อุทัย. (2551). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการของมหาวิทยาลัยธนบุรี. รายงานการวิจัย, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี.

Adams, J. Stacey. (1965). Inequity in social exchange. in Berkowitz, Leonard (Ed), Advances in Experimental Social Psychology, Vol. 2, Academic Press, New York.

Dewey, J. (1976). Moral Principle in Education. Boston : Houghton Mifflin Co.

John Locke. (1996). Some Thoughts Concerning Education andof the Conduct of theUnderstanding. ed. by Ruth W. Grant and Nathan Tarcov Hackett.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-21