ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของ เทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, การให้บริการสาธารณะ, เทศบาลเมืองกำแพงเพชรบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ของประชาชนที่มีเพศ อาชีพ และระดับการศึกษา ต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 377 คน แบ่งประชากรออกเป็นแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) และใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ สถิติเชิงพรรณา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ส่วนสถิติเชิงอนุมานหรืออ้างอิง คือ การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) หรือ F-test หากทดสอบแล้วพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะทำการวิเคราะห์ต่อโดยวิธีหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheff?) วิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร โดยรวม 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านงานให้บริการและบริการชุมชน รองลงมา ได้แก่ ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และค่าเฉลี่ยต่ำสุด ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ 2) การทดสอบสมมติฐานของการวิจัย พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และอาชีพต่างกันมีความพึงพอใจต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรโดยรวม 4 ด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประชาชนที่มีการศึกษาแตกต่างกันมีความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรโดยรวม 4 ด้านไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า 1) ด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ความถี่สูงสุด ได้แก่ เทศบาลควรวางท่อระบายน้ำและรางระบายน้ำให้ทั่วทุกชุมชน 2) ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ความถี่สูงสุด ได้แก่ เทศบาลควรจัดเก็บขยะมูลฝอยให้ทั่วทุกๆชุมชนจำนวน 3) ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ความถี่สูงสุด ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดของเทศบาลควรมีรถรับส่งนักเรียน 4) ด้านงานให้บริการและการบริการชุมชนความถี่สูงสุด ได้แก่ เทศบาลควรมีการประชาสัมพันธ์ให้รวดเร็วอย่างทั่วถึง
References
กองราชการส่วนตำบลสำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น. (2542). กรมการปกครอง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.
กรมการปกครอง. (2536). คู่มือบริการประชาชน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.
กุลธน ธนาพงศธร. (2530). การบริหารงานบุคคล. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
โกวิท พวงงาม, ดร.,รศ. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทยหลักการและมิติใหม่ในอนาคต, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน.
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์จุฬามหาวิทยาลัย.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2550). 100 ปีการปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ.2440-2540. พิมพ์ครั้งที่ 6.กรุงเทพมหานคร : คบไฟการพิมพ์.
ธีระศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2549). เครื่องมือวิจัยทางการศึกษา : การสร้างและการพัฒนา. นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิภา เมธธาวิชัย. (2543). วิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏธนบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด.รศ.ดร. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด. (2551). รัฐธรรมนูญและพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 2550. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พี เอ็น เค แอน สกายพริ้นติ้งส์ จำกัด.
ประทาน คงฤทธิศึกษากร. (2534). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (ปรับปรุงใหม่ล่าสุด 2543). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีณครินทรวิโรฒประสานมิตร.
เพลินทิพย์ โกเมศโสภา. (2544). การวางแผนการตลาด. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2531). พจนานุกรมเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2530. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
ล้วน สายยศ และอังคนา สายยศ. (2540). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
วรเดช จันทรศร และไพโรจน์ ภัทรนรากุล. (2541). การประเมินผลในระบบเปิด. กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์นิด้า.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกำแพงเพชร. (2553). บัญชีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา.
ส่งศรี ชมพูวงศ์. (2547). การวิจัย. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
อนันต์ อนันตกูล. (2540). คนมหาดไทย 2497?2536. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย.
อุทัย หิรัญโต. (2523). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
คงพัชร์ ไขรัศมี. (2549). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพน์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชิดพงษ์ เปลี่ยนขำ. (2539). ความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จินตนา คงเหมือนเพชร. (2540). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการของเทศบาลเมืองปัตตานี.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2542). ความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับการจัดบริการสถานรับเลี้ยงเด็กในเขตกรุงเทพมหานคร : ความต้องการรูปแบบและคุณภาพ. รายงานการวิจัย, กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ณัฐวุฒิ พิริยะจีระอนันต์. (2544). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. ค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดนัย บุญตอบ. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลนาหนองทุ่มอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ถนอมทรัพย์ มะลิซ้อน. (2540). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยอาชีวศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคราม.
ธัญ นพรัตน์ไกรลาศ. (2552). ความต้องการบริการรถรับส่งนักเรียนในเขตเมืองเชียงใหม่ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. ค้นคว้าแบบอิสระศิลปะศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
ปรีดา นิสสาคู. (2548). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัย.
ปริญญา วัฒนา. (2548). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของประชาชนในการให้บริการของเทศบาลตำบลด่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
พิณ คงพูล. (2529). ความพึงพอใจที่มีต่อบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการการประถมศึกษาใน 14 จังหวัดภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา.
มนธิรา ชวลิตนิธิกุล. (2549). ความความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดเก็บขยะของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัญฑิต, บัญฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มนัส นุชบูลย์. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกุ่ม อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. ค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เลิศวิไลลักษณ์ สิงห์แก้ว. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริการด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของแขวงศรีวิชัย เทศบาลนครเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
วัลลภา ชายหาด. (2532). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริการสาธารณะ ด้านรักษาความสะอาดของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศจีพรรณ แสงอ่อน. (2550). ปัญหาและความต้องการของประชาชนต่อการให้บริการงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สุภัทรา บุญอากาศ. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลวังสมบูรณ์ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว. ค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
สุรีย์พร ปาละสานต์. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการสาธารณะที่ได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเทศบาล ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสาน.
อมรรัตน์ วงค์ไชยสิทธิ์. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลสบปราบ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง. ค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
อภิรดี โรจนประดิษฐ. (2552). ความพึงพอใจของประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลแม่เหียะจังหวัดเชียงใหม่. ค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรัญญา ม่วงแดง. (2548). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการ : ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลลำพูน. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
อัจฉรา โทบุญ. (2534). ระดับความพึงพอใจของผู้มารับบริการงานทะเบียนราษฎรสำนักทะเบียนอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.
ข้อมูลสถิติงานทะเบียนราษฎร์อำเภอเมืองกำแพงเพชร ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2553. กำแพงเพชร : อำเภอเมืองกำแพงเพชร, 2553, (อัดสำเนา).
เทศบาลเมืองกำแพงเพชร. (2552). รายงานกิจการประจำปี พ.ศ. 2552. กำแพงเพชร : เทศบาลเมืองกำแพงเพชร, (อัดสำเนา).
นันทวัฒน์ บรมานัน. (2543). กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารสาธารณะหลัก. กรุงเทพมหานคร : นิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (อัดสำเนา).
ประยูร กาญจนตุ. (2549). คำบรรยายกฎหมายการปกครอง. กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, (อัดสำเนา).
สมชัย วงษ์นายะ ดร., รศ. และทวนทอง เชาวกีรติพงศ์ ดร., รศ. (2551). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัย. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยศูนย์การศึกษากำแพงเพชร, (อัดสำเนา).