กรรมบถมี 2 ประเภทหลัก คือ
- อกุศลกรรมบถ 10
- กุศลกรรมบถ 10
อกุศลกรรมบถ 10 หรือ ทุจริต 10:
- กายทุจริต 3:
- ปาณาติบาต = ฆ่าสัตว์: ฆ่าหรือเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตทุกชนิด หรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น
- อทินนาทาน = ลักทรัพย์: ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ หรือใช้วิธีใดๆ จนได้ของคนอื่นมาโดยวิธีไม่ชอบไม่ถูกต้อง
- กาเมสุมิจฉาจาร = ผิดประเวณี: ประพฤติผิดในกาม หรือการละเมิดทางเพศ
- วจีทุจริต 4:
- มุสาวาท = พูดเท็จ: พูดโกหก หรือพูดให้คลาดเคลื่อนจากความจริง
- ปิสุณวาจา = พูดส่อเสียด: พูดจายุยงให้ผู้อื่นแตกแยกกัน กระทบกระทั่งกัน
- ผรุสวาจา = พูดคำหยาบ: การใช้คำพูดที่หยาบคาย หรือด่าทอผู้อื่น
- สัมผัปปลาปะ = พูดเพ้อเจ้อ: การพูดจาที่เหลวไหล ไร้สาระ เกินความจริง หรือการสร้างเรื่องแต่งคอนเทนต์ที่ไม่จริง
- มโนทุจริต 3:
- อภิชฌา = เพ่งเล็ง: จ้องอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน
- พยาบาท = ปองร้าย: คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น ผูกแค้นให้ใจตัวเองเดือดร้อน
- มิจฉาทิฏฐิ = เห็นผิด: มีความเห็นไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม หรือเห็นสิ่งที่เป็นโทษว่าเป็นประโยชน์
กุศลกรรมบถ 10 หรือ สุจริต 10:
เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับอกุศลกรรมบถแต่ละข้อ ซึ่งได้แก่
- กายสุจริต 3:
- ปาณาติปาตา เวรมณี = งดเว้นฆ่าสัตว์: การงดเว้นจากการฆ่าหรือเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
- อทินนาทานา เวรมณี = งดเว้นลักทรัพย์: การงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
- กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี = งดเว้นทำผิดประเวณี: การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม หรือการละเมิดทางเพศ
- วจีสุจริต 4:
- มุสาวาทา เวรมณี = งดเว้นพูดเท็จ: การงดเว้นจากการพูดโกหก หรือพูดให้คลาดเคลื่อนจากความจริง
- ปิสุณายะ วาจายะ เวรมณี = งดเว้นพูดส่อเสียด: การงดเว้นจากการพูดจายุยงให้ผู้อื่นแตกแยกกัน
- ผรุสายะ วาจายะ เวรมณี = งดเว้นพูดคำหยาบ: การงดเว้นจากการใช้คำพูดที่หยาบคาย หรือด่าทอผู้อื่น
- สัมผัปปะลาปา เวรมณี = งดเว้นพูดเพ้อเจ้อ: การงดเว้นจากการพูดจาที่เหลวไหล ไร้สาระ
- มโนสุจริต 3
- อนภิชฌา = ไม่เพ่งเล็ง: การไม่โลภ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่นโดยไม่ชอบ
- อัพยาปาทะ = ไม่ปองร้าย: การไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
- สัมมาทิฏฐิ = เห็นชอบ: การมีความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม