ธรรม

ธรรม

หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเบื้องต้น ตั้งแต่หมวด 2 จนถึงอริยสัจ 4

หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเบื้องต้น ตั้งแต่หมวด 2 จนถึงอริยสัจ 4

ธรรมหมวด 3

  1. พระพุทธเจ้า: ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบและสอนผู้อื่น มีพระคุณ 3 ประการ คือ
    - ปัญญาคุณ
    - บริสุทธิคุณ
    - มหากรุณาคุณ
  2. พระธรรม: คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า (ธรรมและวินัย)  แบ่งเป็น ดังนี้คือ
    - ปริยัติ
    - ปฏิบัติ
    - ปฏิเวธ
    คุณของพระธรรม คือ รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
  3. พระสงฆ์: หมู่ชนผู้ฟังคำสอนแล้วปฏิบัติตาม มี 2 ประเภทคือ
    - อริยสงฆ์ = พระสงฆ์ผู้บรรลุมรรคผล
    - สมมติสงฆ์ = ภิกษุที่บวชถูกต้องตามวินัย
    คุณของพระสงฆ์ คือ ปฏิบัติดีและช่วยสืบทอดศาสนา

  1. การไม่ทำความชั่ว: เว้นจากทุจริต
  2. การทำความดี: ประกอบสุจริต
  3. การทำใจให้ผ่องใส: หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง

  1. กายทุจริต: ฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, ประพฤติผิดในกาม
  2. วจีทุจริต: พูดเท็จ, พูดส่อเสียด, พูดคำหยาบ, พูดเพ้อเจ้อ
  3. มโนทุจริต: โลภอยากได้ของเขา (อภิชฌา), คิดปองร้ายเขา (พยาบาท), เห็นผิดจากคลองธรรม (มิจฉาทิฏฐิ)

ทุจริต 3 นี้ เรียกอีกอย่างว่า "อกุศลกรรมบถ"

  1. กายสุจริต: ไม่ฆ่าสัตว์, ไม่ลักทรัพย์, ไม่ประพฤติผิดในกาม
  2. วจีสุจริต: ไม่พูดเท็จ, ไม่พูดส่อเสียด, ไม่พูดคำหยาบ, ไม่พูดเพ้อเจ้อ
  3. มโนสุจริต: ไม่โลภอยากได้ของเขา (อโลภะ), ไม่พยาบาทปองร้าย (อโทสะ), มีความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ).

สุจริต 3 นี้ เรียกอีกอย่างว่า "กุศลกรรมบถ"

  1. โลภะ: ความอยากได้ในทางทุจริต
  2. โทสะ: ความคิดประทุษร้าย
  3. โมหะ: ความหลง ไม่รู้จริง

  1. อโลภะ: ความไม่อยากได้ในทางทุจริต
  2. อโทสะ: ความไม่คิดประทุษร้าย
  3. อโมหะ: ความไม่หลง รู้ตามความเป็นจริง